• ออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้
• ควบคุมน้ำหนัก การศึกษาจำนวนมาก ชี้ให้เห็นว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านม
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนที่ดี เช่น ปลา ลดการรับประทานอาหารแปรรูป อาหารทอด และอาหารที่มีไขมันสูง
• หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการทำงานของตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการกำจัดฮอร์โมนเอสโตรเจน การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม
• งดการสูบบุหรี่ ในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งหลายชนิด ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายดีเอ็นเอในเซลล์ และอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้
• ตรวจสุขภาพและตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งหากพบในระยะเริ่มต้น การรักษาก็มีโอกาสหายได้สูง
• การให้นมบุตร ยิ่งคุณแม่ให้นมบุตรนานเท่าไร ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมในอนาคตก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น
• ปรึกษาแพทย์หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นการหาความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม เพื่อประเมินความเสี่ยงและวางแผนการป้องกันอย่างเหมาะสม
• ออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้
• ควบคุมน้ำหนัก การศึกษาจำนวนมาก ชี้ให้เห็นว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งเต้านม
• รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนที่ดี เช่น ปลา ลดการรับประทานอาหารแปรรูป อาหารทอด และอาหารที่มีไขมันสูง
• หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลต่อการทำงานของตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการกำจัดฮอร์โมนเอสโตรเจน การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ตับทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม
• งดการสูบบุหรี่ ในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งหลายชนิด ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายดีเอ็นเอในเซลล์ และอาจทำให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้
• ตรวจสุขภาพและตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งหากพบในระยะเริ่มต้น การรักษาก็มีโอกาสหายได้สูง
• การให้นมบุตร ยิ่งคุณแม่ให้นมบุตรนานเท่าไร ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมในอนาคตก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น
• ปรึกษาแพทย์หากมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นการหาความผิดปกติของยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม เพื่อประเมินความเสี่ยงและวางแผนการป้องกันอย่างเหมาะสม
Make an appointment, call an ambulance. Available for service 24 hours a day.
Available for service 24 hours a day.