ต้อลม (Pinguecula) และต้อเนื้อ (Pterygium)

ต้อลม (Pinguecula) และต้อเนื้อ (Pterygium) คืออะไร

 ต้อลม (Pinguecula) และต้อเนื้อ (Pterygium) เป็นเนื้อนูนที่เยื่อตาขาวข้างกระจกตาดำ ถ้าอยู่เฉพาะที่เยื่อบุตาขาว (Conjunctiva) เรียกว่า ต้อลม (Pinguecula) แต่หากรุกล้ำเข้ามาในกระจกตาดำ (Cornea) เรียกว่า ต้อเนื้อ (Pterygium) โดยต้อเนื้อจะมีลักษณะเห็นเป็นเนื้อสามเหลี่ยมโดยมีหัวอยู่ที่กระจกตา เนื้อเยื่อเหมือนเยื่อบุตาซึ่งมีเส้นเลือดวิ่งเข้าไปเกาะอยู่บนกระจกตาดำ อาจใหญ่หรือเล็กก็ได้ จะแดงมากน้อยขึ้นอยู่กับมีปริมาณเส้นเลือดมากหรือน้อย ทั้งต้อลมและต้อเนื้อส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณหัวตาด้านในใกล้จมูก แต่อาจจะเป็นได้ทั้งด้านหัวตาและหางตาพร้อมกัน

ปัจจัยเสี่ยง

  • การได้รับแสง UV จากแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง

  • ตาแห้งและระคายเคืองเรื้อรัง 

อาการแสดง

ต้อลม

  • เนื้อนูนสีขาวหรือเหลืองในเยื่อบุตาขาว

  • ตาแห้ง

  • ตาแดง

ต้อเนื้อ

  • เนื้อนูนลักษณะสามเหลี่ยมยื่นเข้าไปที่กระจกตา

  • ระคายเคืองตา

  • ตาแดง

  • รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา

  • อาการที่รุนแรงขึ้นอาจพบว่าต้อเนื้อทีขนาดใหญ่ขึ้นและตาพร่ามัวหรือเห็นภาพซ้อน

การรักษา

การรักษาโรคต้อลมและต้อเนื้อขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หากโรคยังไม่รุนแรงคือต้อมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยไม่รู้สึกระคายเคืองและการมองเห็นยังเป็นปกติ การรักษาโรคในระยะนี้ แนะนำให้ป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น โดยปกป้องดวงตาจากรังสีอัลตราไวโอเลตอย่างเคร่งครัด ด้วยการสวมแว่นกันแดดอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้ต้อเติบโตลุกลามมากยิ่งขึ้น 

     อย่างไรก็ตาม หากเกิดการอักเสบ แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการระคายเคือง และอาการอื่นๆ จากการอักเสบ

     ในกรณีของต้อเนื้อที่มีการลุกลามเข้าไปบนกระจกตามาก มีขนาดใหญ่และอักเสบเรื้อรัง จักษุแพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วย การผ่าตัดลอกต้อเนื้อ เพื่อลอกเอาเนื้อเยื่อต้อเนื้อออกจากเยื่อตาและผิวกระจกตา ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ใช้เวลาเพียงประมาณ 30 นาที หลังการผ่าตัดแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลราว 3-6 ชั่วโมงแล้วแต่กรณี จากนั้นจึงกลับบ้านได้

     ทั้งนี้ ต้อเนื้อเป็นโรคที่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำสูงโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุน้อย และผู้ที่ยังคงได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดต้อเนื้อซ้ำแพทย์อาจผ่าตัดด้วยวิธีปลูกถ่ายเนื้อเยื่อใหม่โดยใช้เยื่อบุตาขาวของผู้ป่วยเอง เยื่อรกจากสภากาชาดไทย เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำอีก

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

If you notice any change in vision or think you might have pinguecula or pterygium, make an appointment to your Ophthalmologist to confirm diagnosis whether it requires just monitoring, symptomatic treatment with medication, or surgical treatment.

หากท่านพบความเปลี่ยนแปลงในการมองเห็นหรือคิดว่ามีอาการเข้าได้กับต้อลมหรือต้อเนื้อ ควรนัดหมายจักษุแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยว่าเป็นต้อหรือไม่และควรแค่ติดตามอาหาร รักษาตามอาการด้วยการใช้ยา หรือควรรับการผ่าตัด

ศูนย์จักษุ

ศูนย์จักษุ

ต้อลม (Pinguecula) และต้อเนื้อ (Pterygium)

ต้อลม (Pinguecula) และต้อเนื้อ (Pterygium) คืออะไร

 ต้อลม (Pinguecula) และต้อเนื้อ (Pterygium) เป็นเนื้อนูนที่เยื่อตาขาวข้างกระจกตาดำ ถ้าอยู่เฉพาะที่เยื่อบุตาขาว (Conjunctiva) เรียกว่า ต้อลม (Pinguecula) แต่หากรุกล้ำเข้ามาในกระจกตาดำ (Cornea) เรียกว่า ต้อเนื้อ (Pterygium) โดยต้อเนื้อจะมีลักษณะเห็นเป็นเนื้อสามเหลี่ยมโดยมีหัวอยู่ที่กระจกตา เนื้อเยื่อเหมือนเยื่อบุตาซึ่งมีเส้นเลือดวิ่งเข้าไปเกาะอยู่บนกระจกตาดำ อาจใหญ่หรือเล็กก็ได้ จะแดงมากน้อยขึ้นอยู่กับมีปริมาณเส้นเลือดมากหรือน้อย ทั้งต้อลมและต้อเนื้อส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณหัวตาด้านในใกล้จมูก แต่อาจจะเป็นได้ทั้งด้านหัวตาและหางตาพร้อมกัน

ปัจจัยเสี่ยง

  • การได้รับแสง UV จากแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง

  • ตาแห้งและระคายเคืองเรื้อรัง 

อาการแสดง

ต้อลม

  • เนื้อนูนสีขาวหรือเหลืองในเยื่อบุตาขาว

  • ตาแห้ง

  • ตาแดง

ต้อเนื้อ

  • เนื้อนูนลักษณะสามเหลี่ยมยื่นเข้าไปที่กระจกตา

  • ระคายเคืองตา

  • ตาแดง

  • รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา

  • อาการที่รุนแรงขึ้นอาจพบว่าต้อเนื้อทีขนาดใหญ่ขึ้นและตาพร่ามัวหรือเห็นภาพซ้อน

การรักษา

การรักษาโรคต้อลมและต้อเนื้อขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หากโรคยังไม่รุนแรงคือต้อมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยไม่รู้สึกระคายเคืองและการมองเห็นยังเป็นปกติ การรักษาโรคในระยะนี้ แนะนำให้ป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น โดยปกป้องดวงตาจากรังสีอัลตราไวโอเลตอย่างเคร่งครัด ด้วยการสวมแว่นกันแดดอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้ต้อเติบโตลุกลามมากยิ่งขึ้น 

     อย่างไรก็ตาม หากเกิดการอักเสบ แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการระคายเคือง และอาการอื่นๆ จากการอักเสบ

     ในกรณีของต้อเนื้อที่มีการลุกลามเข้าไปบนกระจกตามาก มีขนาดใหญ่และอักเสบเรื้อรัง จักษุแพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วย การผ่าตัดลอกต้อเนื้อ เพื่อลอกเอาเนื้อเยื่อต้อเนื้อออกจากเยื่อตาและผิวกระจกตา ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก ใช้เวลาเพียงประมาณ 30 นาที หลังการผ่าตัดแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลราว 3-6 ชั่วโมงแล้วแต่กรณี จากนั้นจึงกลับบ้านได้

     ทั้งนี้ ต้อเนื้อเป็นโรคที่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำสูงโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุน้อย และผู้ที่ยังคงได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดต้อเนื้อซ้ำแพทย์อาจผ่าตัดด้วยวิธีปลูกถ่ายเนื้อเยื่อใหม่โดยใช้เยื่อบุตาขาวของผู้ป่วยเอง เยื่อรกจากสภากาชาดไทย เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำอีก

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

If you notice any change in vision or think you might have pinguecula or pterygium, make an appointment to your Ophthalmologist to confirm diagnosis whether it requires just monitoring, symptomatic treatment with medication, or surgical treatment.

หากท่านพบความเปลี่ยนแปลงในการมองเห็นหรือคิดว่ามีอาการเข้าได้กับต้อลมหรือต้อเนื้อ ควรนัดหมายจักษุแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยว่าเป็นต้อหรือไม่และควรแค่ติดตามอาหาร รักษาตามอาการด้วยการใช้ยา หรือควรรับการผ่าตัด

Emergency
+66 2220 3899

Make an appointment, call an ambulance. Available for service 24 hours a day.

Call Us
+66 2220 7999

Available for service 24 hours a day.

Hospital map
How to get there