ต้อหิน (Glaucoma) เป็นกลุ่มโรคที่มีการเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่มีความดันตาที่สูง และเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้ต้อหินมีหลายชนิดจึงควรพบจักษุแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง
ปัจจัยเสี่ยง
เชื้อชาติ คนเชื้อชาติแอฟริกันอเมริกันจะพบต้อหินสูงกว่าคนผิวขาวถึง 6-8 เท่า ส่วนคนเชื้อชาติเอเชียจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินมุมปิด
อายุมากกว่า 40 ปี
มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
ตรวจพบความดันตาสูง
เคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา
การใช้ยาสเตียรอยด์
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาทิ สายตายาวหรือสั้นมาก กระจกตาบาง โรคเบาหวาน ไมเกรน
อาการแสดง
ส่วนใหญ่แล้ว อาการโรคต้อหิน มักไม่สามารถสังเกตได้เอง หรือมีสัญญาณเตือนให้ผู้ป่วยรู้ล่วงหน้า ซึ่งอาการของโรคต้อหิน จะมีอาการแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหิน โดยทั่วไปแล้วต้อหิน จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ต้อหินมุมเปิด (Open-Angle Glaucoma) และ ต้อหินมุมปิด (Angle-Closure Glaucoma)
1.ต้อหินมุมเปิด เป็นต้อหินที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนมากมักไม่แสดงอาการในระยะแรก เส้นประสาทตาจะค่อยๆ เสียไป ผู้ป่วยจะค่อยๆ สูญเสียการมองเห็นอย่างช้าๆ ตามัวลงเล็กน้อยคล้ายมีหมอกมาบังทางด้านข้าง ซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าจะสูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดในที่สุด
2.ต้อหินมุมปิด พบได้น้อยกว่าต้อหินมุมเปิด อาการขึ้นอย่างฉับพลัน ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดตา ตาแดง เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ต้อหินชนิดนี้มีโอกาสรักษาหายขาดได้ หากผู้ป่วยมาปรึกษาจักษุแพทย์อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้แล้วยังมี ต้อหินแต่กำเนิด มักเกิดในทารกแรกเกิดหรือเด็ก และ ต้อหินชนิดแทรกซ้อน ซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากความผิดปกติทางตา หรือเกิดจากโรคตาอื่นๆ
การรักษา
ต้อหิน รักษาได้เพียงการลดความดันลูกตาเท่านั้น โดยการทำให้น้ำในลูกตาระบายออกได้ตามปกติ เพราะขั้วประสาทตาที่เสียไปแล้ว หรือค่อยๆเสียด้วยสาเหตุบางอย่างที่ไม่ใช้ความดันลูกตาสูง ไม่สามารถรักษาหรือแก้ไขให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีก
การรักษาโรคต้อหินโดยการลดความดันลูกตา สามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่
1. การใช้ยารักษาต้อหิน ยารักษาต้อหินจะอยู่ในรูปของยาหยอดตา ยาหยอดตารักษาต้อหินจะช่วยลดการสร้างน้ำในลูกตา หรือช่วยให้น้ำในลูกตาระบายออกได้ดีขึ้น เพื่อลดความดันในลูกตา
2. การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์ การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์นั้น มีผลในการควบคุมความดันลูกตา และช่วยให้ดวงตาระบายน้ำออกได้ดีขึ้น แพทย์จะให้ใช้การรักษาด้วยเลเซอร์ก็ต่อเมื่อการรักษาด้วยการหยอดยาอย่างเดียวไม่ได้ผล
หากการรักษาด้วยเลเซอร์ไม่ได้ผล แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเป็นวิธีสุดท้าย
3. การผ่าตัดรักษาต้อหินสามารถทำได้สองวิธี วิธีแรกเป็นการผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำ ให้น้ำระบายออกจากลูกตาได้ดีขึ้น หากหลังผ่าตัดแล้วน้ำยังคงระบายออกได้ไม่ดี ความดันในลูกตาไม่ลดลง แพทย์จะใช้การผ่าตัดอีกวิธีหนึ่งเป็นการผ่าตัดทำทางระบายน้ำโดยการสอดท่อเล็กๆเพื่อระบายน้ำออกจากลูกตา ทำให้ความดันในลูกตาลดลง เป็นการควบคุมความดันในลูกตานั่นเอง
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
หากท่านมีอาการตามัว เห็นแสงรอบไฟ ไวต่อแสง สูญเสียการมองเห็น ควรนัดจักษุแพทย์เพื่อตรวจรักษาให้ไวที่สุดหรือหากมีอาการที่เกิดกระทันหันเช่นปวดหัวและปวดตาอย่างรุนแรง ท่านอาจเป็นต้อหินมุมปิดซึ่งต้องทำการรักษาทันที ให้ท่านติดต่อที่แผนกฉุกเฉินหรือจักษุแพทย์โดยทันที
ต้อหิน (Glaucoma) เป็นกลุ่มโรคที่มีการเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่มีความดันตาที่สูง และเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้ต้อหินมีหลายชนิดจึงควรพบจักษุแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง
ปัจจัยเสี่ยง
เชื้อชาติ คนเชื้อชาติแอฟริกันอเมริกันจะพบต้อหินสูงกว่าคนผิวขาวถึง 6-8 เท่า ส่วนคนเชื้อชาติเอเชียจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินมุมปิด
อายุมากกว่า 40 ปี
มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
ตรวจพบความดันตาสูง
เคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา
การใช้ยาสเตียรอยด์
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาทิ สายตายาวหรือสั้นมาก กระจกตาบาง โรคเบาหวาน ไมเกรน
อาการแสดง
ส่วนใหญ่แล้ว อาการโรคต้อหิน มักไม่สามารถสังเกตได้เอง หรือมีสัญญาณเตือนให้ผู้ป่วยรู้ล่วงหน้า ซึ่งอาการของโรคต้อหิน จะมีอาการแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหิน โดยทั่วไปแล้วต้อหิน จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ต้อหินมุมเปิด (Open-Angle Glaucoma) และ ต้อหินมุมปิด (Angle-Closure Glaucoma)
1.ต้อหินมุมเปิด เป็นต้อหินที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนมากมักไม่แสดงอาการในระยะแรก เส้นประสาทตาจะค่อยๆ เสียไป ผู้ป่วยจะค่อยๆ สูญเสียการมองเห็นอย่างช้าๆ ตามัวลงเล็กน้อยคล้ายมีหมอกมาบังทางด้านข้าง ซึ่งอาจใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าจะสูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดในที่สุด
2.ต้อหินมุมปิด พบได้น้อยกว่าต้อหินมุมเปิด อาการขึ้นอย่างฉับพลัน ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดตา ตาแดง เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ต้อหินชนิดนี้มีโอกาสรักษาหายขาดได้ หากผู้ป่วยมาปรึกษาจักษุแพทย์อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้แล้วยังมี ต้อหินแต่กำเนิด มักเกิดในทารกแรกเกิดหรือเด็ก และ ต้อหินชนิดแทรกซ้อน ซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากความผิดปกติทางตา หรือเกิดจากโรคตาอื่นๆ
การรักษา
ต้อหิน รักษาได้เพียงการลดความดันลูกตาเท่านั้น โดยการทำให้น้ำในลูกตาระบายออกได้ตามปกติ เพราะขั้วประสาทตาที่เสียไปแล้ว หรือค่อยๆเสียด้วยสาเหตุบางอย่างที่ไม่ใช้ความดันลูกตาสูง ไม่สามารถรักษาหรือแก้ไขให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีก
การรักษาโรคต้อหินโดยการลดความดันลูกตา สามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่
1. การใช้ยารักษาต้อหิน ยารักษาต้อหินจะอยู่ในรูปของยาหยอดตา ยาหยอดตารักษาต้อหินจะช่วยลดการสร้างน้ำในลูกตา หรือช่วยให้น้ำในลูกตาระบายออกได้ดีขึ้น เพื่อลดความดันในลูกตา
2. การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์ การรักษาต้อหินด้วยเลเซอร์นั้น มีผลในการควบคุมความดันลูกตา และช่วยให้ดวงตาระบายน้ำออกได้ดีขึ้น แพทย์จะให้ใช้การรักษาด้วยเลเซอร์ก็ต่อเมื่อการรักษาด้วยการหยอดยาอย่างเดียวไม่ได้ผล
หากการรักษาด้วยเลเซอร์ไม่ได้ผล แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเป็นวิธีสุดท้าย
3. การผ่าตัดรักษาต้อหินสามารถทำได้สองวิธี วิธีแรกเป็นการผ่าตัดเพื่อทำทางระบายน้ำ ให้น้ำระบายออกจากลูกตาได้ดีขึ้น หากหลังผ่าตัดแล้วน้ำยังคงระบายออกได้ไม่ดี ความดันในลูกตาไม่ลดลง แพทย์จะใช้การผ่าตัดอีกวิธีหนึ่งเป็นการผ่าตัดทำทางระบายน้ำโดยการสอดท่อเล็กๆเพื่อระบายน้ำออกจากลูกตา ทำให้ความดันในลูกตาลดลง เป็นการควบคุมความดันในลูกตานั่นเอง
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
หากท่านมีอาการตามัว เห็นแสงรอบไฟ ไวต่อแสง สูญเสียการมองเห็น ควรนัดจักษุแพทย์เพื่อตรวจรักษาให้ไวที่สุดหรือหากมีอาการที่เกิดกระทันหันเช่นปวดหัวและปวดตาอย่างรุนแรง ท่านอาจเป็นต้อหินมุมปิดซึ่งต้องทำการรักษาทันที ให้ท่านติดต่อที่แผนกฉุกเฉินหรือจักษุแพทย์โดยทันที
Make an appointment, call an ambulance. Available for service 24 hours a day.
Available for service 24 hours a day.