ภาวะหนังตาตก

ภาวะหนังตาตกคืออะไร

ภาวะหนังตาตก หรือหนังตาหย่อน เป็นความผิดปกติของเปลือกตาที่พบได้บ่อย โดยปกติแล้วหนังตาบนจะต้องคลุมตาดำไม่เกิน 2 มิลลิเมตร โดยสังเกตได้จากขณะลืมตาตามปกติขอบล่างของเปลือกตาบนจะอยู่ปิดตาดำส่วนบนเพียงเล็กน้อย โดยไม่ต้องอาศัยการเลิกคิ้วหรือย่นหน้าผากช่วย ภาวะหนังตาตก อาจพบในตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง กรณีที่เป็นทั้งสองข้าง ผู้ป่วยจะดูคล้ายคนง่วงนอน 

อาการของภาวะหนังตาตก 

โดยทั่วไปภาวะหนังตาตกไม่มีอาการเจ็บปวด แต่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในแง่ที่ว่าผู้ป่วยจะมีการมองเห็นลดลงเนื่องจากเปลือกตาบนตกลงมาต่ำกว่าปกติ ภาวะหนังตาตกอาจเกิดทีละข้างหรือพร้อมกัน 2 ข้าง 

ผู้ป่วยอาจลองสังเกตอาการของตนเองได้ โดยพิจารณาดวงตาของตนเองในกระจก กรณีปกติจะมองเห็นรูม่านตาได้อย่างชัดเจนและมองเห็นตาดำได้ทั้งหมด แต่หากมีภาวะหนังตาตก จะมองเห็นดวงตาเล็กกว่าปกติและเห็นตาดำเพียงครึ่งเดียว

หากเป็นภาวะหนังตาตกจากโรคที่มีความรุนแรง อาทิ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis) อาจพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มองเห็นภาพซ้อน แขนหรือขาอ่อนแรง พูด หายใจหรือกลืนลำบาก 

ภาวะหนังตาตกในเด็ก อาจทำให้เกิดโรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) ถ้าหนังตาตกลงมาปิดมาก อาจปิดกั้นการมองเห็นหรือทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด หรือตาเหล่ ซึ่งอาจผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของดวงตา

ภาวะหนังตาตก แบ่งตามสาเหตุได้ดังนี้

  • ภาวะหนังตาตกตั้งแต่กำเนิด อาจเกิด จากกรรมพันธุ์ หรือจากความผิดปกติระหว่างต้ังครรภ์ 

  • ภาวะหนังตาตกจากเอ็นของกล้ามเนื้อที่ยกเปลือกงตาหย่อนหรือหลุดจากที่เกาะ ทำให้กล้ามเนื้อหนังตาไม่แข็งแรง ไขมันส่วนเกินจึงสะสมอยู่ในบริเวณเปลือกตาและใต้ตา ทำให้คิ้วตก หนังตาตก และมีถุงใต้ตา เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะหนังตาตกในผู้ใหญ่  

  • ภาวะหนังตาตกจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อและระบบประสาท เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเส้นประสาทอักเสบ 

  • ภาวะหนังตาตกจากพฤติกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อตายืดหรือบาดเจ็บ เช่น ภูมิแพ้ทางตา ขยี้ตาบ่อย ใส่คอนแทคเลนส์ที่ความโค้งไม่เหมาะสม หรือแพ้คอนแทคเลนส์เนื่องจากทำความสะอาดไม่ดี หรือการใส่คอนแทคเลนส์มานาน

  • ภาวะหนังตาตกจากการผ่าตัดดวงตาหรือทำศัลยกรรมรอบดวงตาที่ไปกระทบกล้ามเนื้อในการเปิดตา 

การรักษาภาวะหนังตาตก  

การรักษาภาวะหนังตาตกในกรณีที่ทำให้ปิดกั้นการมองเห็นหรือส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ภายนอก โดยส่วนใหญ่จะแก้ไข้ด้วยการศัลยกรรมเปลือกตา ซึ่งจะจัดการปัญหาด้วยการผ่าตัดยกเปลือกตา และขั้นตอนการผ่าตัดจะใช้เพียงยาชาเฉพาะจุดเท่านั้น

ส่วนเด็กแรกเกิดที่มีอาการหนังตาตกรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดแก้ไขทันทีเพราะหากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการมองเห็นอย่างถาวร ในรายที่อาการไม่รุนแรงหรือประเมินแล้วว่าไม่กระทบกับการมองเห็นแพทย์อาจแนะนำให้รอจนเด็กมีอายุ 3-5 ปี จึงจะรักษา  

ในรายหนังตาตกที่มีสาเหตุมากจากโรคกล้ามเนื้อ หรือระบบประสาทหรือมีปัญหาบริเวณดวงตา แพทย์จะรักษาโรคหรือความเจ็บป่วยนั้นๆ ก่อน บางรายจะเป็นการรักษาให้หนังตาตกดีขึ้นหรือช่วยไม่ให้อาการแย่ลง

การรักษาภาวะหนังตาตกด้วยการศัลยกรรมเปลือกตา 

ภาวะหนังตาตกนอกจากลดประสิทธิภาพในการมองเห็นแล้ว ยังทำให้ดูมีอายุและหน้าตาไม่สดใส กลายเป็นความกังวลของหลายๆ คน การผ่าตัดตกแต่งเปลือกตาจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการแก้ไขภาวะหนังตาตก รวมทั้งเพิ่มความสดใสให้ใบหน้าในภาพรวม 

การรักษาโดยการศัลยกรรมเปลือกตาเพื่อแก้ไขภาวะหนังตาตกนั้น แพทย์จะผ่าตัดเปลือกตาเพื่อปรับตำแหน่งการยึดเกาะ หรือเพิ่มแรงยกของพังผืดกล้ามเนื้อยกเปลือกตาที่เลื่อนหลุด และหรือยืดหย่อน โดยอาจทำร่วมกับการผ่าตัดบางส่วนของผิวหนังเปลือกตาที่หย่อนคล้อย ซึ่งบดบังการมองเห็นอยู่ออกไป หรือการยกกระชับพังผืดชั้นลึกของใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณคิ้ว 

อย่างไรก็ตาม การรักษาภาวะหนังตาตกด้วยการศัลยกรรมเปลือกตาอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ปรึกษาแพทย์ของคุณเพื่อทำความเข้าใจสาเหตุ ตรวจวินิจฉัย พิจารณาทางเลือก และผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการผ่าตัดเพื่อประกอบการตัดสินใจ  

เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์

โดยทั่วไป แม้ภาวะหนังตาตกจะไม่ได้มีอาการรุนแรง แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันพอสมควร ทั้งในเรื่องของการบดบังการมองเห็น และความมั่นใจในรูปลักษณ์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้คำแนะนำอย่างเหมาะสมตามความคาดหวังของผู้ป่วย 

อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการต่อไปนี้ร่วมกับภาวะหนังตาตาก ควรไปพบแพทย์ทันที

  • มีอาการหนังตาตกกะทันหัน โดยเกิดขึ้นเป็นเวลา 2-3 วัน หรือ 2-3 ชั่วโมง

  • มีอาการปวดศีรษะรุนแรง เห็นภาพซ้อน กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง แขนหรือขาอ่อนแรง พูดหรือกลืนลำบาก

  • ตาอักเสบ ระคายเคือง รวมไปถึง ตาเจ็บและแดง หรือกลอกตาลำบาก

ศูนย์จักษุ

ศูนย์จักษุ

ภาวะหนังตาตก

ภาวะหนังตาตกคืออะไร

ภาวะหนังตาตก หรือหนังตาหย่อน เป็นความผิดปกติของเปลือกตาที่พบได้บ่อย โดยปกติแล้วหนังตาบนจะต้องคลุมตาดำไม่เกิน 2 มิลลิเมตร โดยสังเกตได้จากขณะลืมตาตามปกติขอบล่างของเปลือกตาบนจะอยู่ปิดตาดำส่วนบนเพียงเล็กน้อย โดยไม่ต้องอาศัยการเลิกคิ้วหรือย่นหน้าผากช่วย ภาวะหนังตาตก อาจพบในตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง กรณีที่เป็นทั้งสองข้าง ผู้ป่วยจะดูคล้ายคนง่วงนอน 

อาการของภาวะหนังตาตก 

โดยทั่วไปภาวะหนังตาตกไม่มีอาการเจ็บปวด แต่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในแง่ที่ว่าผู้ป่วยจะมีการมองเห็นลดลงเนื่องจากเปลือกตาบนตกลงมาต่ำกว่าปกติ ภาวะหนังตาตกอาจเกิดทีละข้างหรือพร้อมกัน 2 ข้าง 

ผู้ป่วยอาจลองสังเกตอาการของตนเองได้ โดยพิจารณาดวงตาของตนเองในกระจก กรณีปกติจะมองเห็นรูม่านตาได้อย่างชัดเจนและมองเห็นตาดำได้ทั้งหมด แต่หากมีภาวะหนังตาตก จะมองเห็นดวงตาเล็กกว่าปกติและเห็นตาดำเพียงครึ่งเดียว

หากเป็นภาวะหนังตาตกจากโรคที่มีความรุนแรง อาทิ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis) อาจพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มองเห็นภาพซ้อน แขนหรือขาอ่อนแรง พูด หายใจหรือกลืนลำบาก 

ภาวะหนังตาตกในเด็ก อาจทำให้เกิดโรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) ถ้าหนังตาตกลงมาปิดมาก อาจปิดกั้นการมองเห็นหรือทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด หรือตาเหล่ ซึ่งอาจผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของดวงตา

ภาวะหนังตาตก แบ่งตามสาเหตุได้ดังนี้

  • ภาวะหนังตาตกตั้งแต่กำเนิด อาจเกิด จากกรรมพันธุ์ หรือจากความผิดปกติระหว่างต้ังครรภ์ 

  • ภาวะหนังตาตกจากเอ็นของกล้ามเนื้อที่ยกเปลือกงตาหย่อนหรือหลุดจากที่เกาะ ทำให้กล้ามเนื้อหนังตาไม่แข็งแรง ไขมันส่วนเกินจึงสะสมอยู่ในบริเวณเปลือกตาและใต้ตา ทำให้คิ้วตก หนังตาตก และมีถุงใต้ตา เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะหนังตาตกในผู้ใหญ่  

  • ภาวะหนังตาตกจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อและระบบประสาท เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเส้นประสาทอักเสบ 

  • ภาวะหนังตาตกจากพฤติกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อตายืดหรือบาดเจ็บ เช่น ภูมิแพ้ทางตา ขยี้ตาบ่อย ใส่คอนแทคเลนส์ที่ความโค้งไม่เหมาะสม หรือแพ้คอนแทคเลนส์เนื่องจากทำความสะอาดไม่ดี หรือการใส่คอนแทคเลนส์มานาน

  • ภาวะหนังตาตกจากการผ่าตัดดวงตาหรือทำศัลยกรรมรอบดวงตาที่ไปกระทบกล้ามเนื้อในการเปิดตา 

การรักษาภาวะหนังตาตก  

การรักษาภาวะหนังตาตกในกรณีที่ทำให้ปิดกั้นการมองเห็นหรือส่งผลกระทบต่อรูปลักษณ์ภายนอก โดยส่วนใหญ่จะแก้ไข้ด้วยการศัลยกรรมเปลือกตา ซึ่งจะจัดการปัญหาด้วยการผ่าตัดยกเปลือกตา และขั้นตอนการผ่าตัดจะใช้เพียงยาชาเฉพาะจุดเท่านั้น

ส่วนเด็กแรกเกิดที่มีอาการหนังตาตกรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดแก้ไขทันทีเพราะหากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการมองเห็นอย่างถาวร ในรายที่อาการไม่รุนแรงหรือประเมินแล้วว่าไม่กระทบกับการมองเห็นแพทย์อาจแนะนำให้รอจนเด็กมีอายุ 3-5 ปี จึงจะรักษา  

ในรายหนังตาตกที่มีสาเหตุมากจากโรคกล้ามเนื้อ หรือระบบประสาทหรือมีปัญหาบริเวณดวงตา แพทย์จะรักษาโรคหรือความเจ็บป่วยนั้นๆ ก่อน บางรายจะเป็นการรักษาให้หนังตาตกดีขึ้นหรือช่วยไม่ให้อาการแย่ลง

การรักษาภาวะหนังตาตกด้วยการศัลยกรรมเปลือกตา 

ภาวะหนังตาตกนอกจากลดประสิทธิภาพในการมองเห็นแล้ว ยังทำให้ดูมีอายุและหน้าตาไม่สดใส กลายเป็นความกังวลของหลายๆ คน การผ่าตัดตกแต่งเปลือกตาจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการแก้ไขภาวะหนังตาตก รวมทั้งเพิ่มความสดใสให้ใบหน้าในภาพรวม 

การรักษาโดยการศัลยกรรมเปลือกตาเพื่อแก้ไขภาวะหนังตาตกนั้น แพทย์จะผ่าตัดเปลือกตาเพื่อปรับตำแหน่งการยึดเกาะ หรือเพิ่มแรงยกของพังผืดกล้ามเนื้อยกเปลือกตาที่เลื่อนหลุด และหรือยืดหย่อน โดยอาจทำร่วมกับการผ่าตัดบางส่วนของผิวหนังเปลือกตาที่หย่อนคล้อย ซึ่งบดบังการมองเห็นอยู่ออกไป หรือการยกกระชับพังผืดชั้นลึกของใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณคิ้ว 

อย่างไรก็ตาม การรักษาภาวะหนังตาตกด้วยการศัลยกรรมเปลือกตาอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ปรึกษาแพทย์ของคุณเพื่อทำความเข้าใจสาเหตุ ตรวจวินิจฉัย พิจารณาทางเลือก และผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการผ่าตัดเพื่อประกอบการตัดสินใจ  

เมื่อไรจึงควรไปพบแพทย์

โดยทั่วไป แม้ภาวะหนังตาตกจะไม่ได้มีอาการรุนแรง แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันพอสมควร ทั้งในเรื่องของการบดบังการมองเห็น และความมั่นใจในรูปลักษณ์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้คำแนะนำอย่างเหมาะสมตามความคาดหวังของผู้ป่วย 

อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการต่อไปนี้ร่วมกับภาวะหนังตาตาก ควรไปพบแพทย์ทันที

  • มีอาการหนังตาตกกะทันหัน โดยเกิดขึ้นเป็นเวลา 2-3 วัน หรือ 2-3 ชั่วโมง

  • มีอาการปวดศีรษะรุนแรง เห็นภาพซ้อน กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง แขนหรือขาอ่อนแรง พูดหรือกลืนลำบาก

  • ตาอักเสบ ระคายเคือง รวมไปถึง ตาเจ็บและแดง หรือกลอกตาลำบาก

Emergency
+66 2220 3899

Make an appointment, call an ambulance. Available for service 24 hours a day.

Call Us
+66 2220 7999

Available for service 24 hours a day.

Hospital map
How to get there