โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เดอกาแวง

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เดอกาแวงคืออะไร

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เดอกาแวง เป็นภาวะที่มีอาการปวดบริเวณข้อมือด้านนิ้วโป้ง มีสาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นเอ็นที่อยู่ฝั่งนิ้วโป้ง โดยปกติแล้วเส้นเอ็นดังกล่าวจะสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดายในเนื้อเยื่อที่มีลักษณะอุโมงค์คือปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ (sheath) เมื่อเกิดการอักเสบแล้ว การบวมจะทำให้เส้นเอ็นไม่สามารถเคลื่อนไหวภายในปลอกหุ้มเอ็นได้อย่างสะดวก

 

ปัจจัยเสี่ยง 

  • การใช้งานนิ้วโป้งและช้อมือที่มากเกินไป

  • การตั้งครรภ์

  • การดูแลทารกและให้นมบุตร

  • เป็นโรคช้ออักเสบรูมาตอยด์

  • เพศ โดยผู้หญิงอาจมีโอกาสเกิดโรคได้มากกว่าผู้ชาย

  • อายุ พบได้บ่อยในวัย 40-50 ปี

อาการแสดง

  • อาการปวดในข้อมือฝั่งข้างเดียวกับนิ้วโป้งซึ่งอาจค่อยๆเกิดอย่างช้าๆหรือเกิดอย่างฉับพลัน

  • อาการปวดไปตามแนวนิ้วโป้งหรือจากช้อมือลงมายังแขน

  • อาการบวมของข้อมือด้านนิ้วโป้ง

  • รู้สึกอาการเจ็บ เสียวเมื่อขยับนิ้วโป้ง

  • Feeling of snappy sensation when moving the thumb

การรักษา

การรักษาอาจเริ่มด้วยการรักษาแบบไม่ผ่าตัดก่อนเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆก่อนที่จะพิจารณาทำการผ่าตัด
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

  • การใส่อุปกรณ์พยุงนิ้วหัวแม่มือเพื่อให้ข้อมือยืดตรงและนิ้วโป้งอยู่ในจุดที่มีความคลาย

  • การใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs) ชนิดรับประทานหรือทา

  • การฉีดเสตียรอยด์บริเวณที่อักเสบ

  • การเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปวด

  • การประคบบริเวณที่เป็นด้วยน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวม

การรักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นการผ่าตัดโดยการกรีดบริเวณที่เป็นเล็กน้อยเพื่อให้ปลอกหุ้มเส้นเอ็นคลายและมีที่สำหรับเส้นเอ็นได้เคลื่อนไหวมากยิ่งชึ้น โดยจะลดอาการปวดและบวมได้ การเคลื่อนไหวจะกลับมาใช้ได้ปกติ

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

หากท่านมีอาการปวดจากการทำงานด้วยมือซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แม้ว่าได้ทดลองเลี่ยงการใช้งานข้างที่เป็น การประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมและการใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs) แล้วไม่ดีขึ้น โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ

ศูนย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เดอกาแวง

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เดอกาแวงคืออะไร

โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เดอกาแวง เป็นภาวะที่มีอาการปวดบริเวณข้อมือด้านนิ้วโป้ง มีสาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นเอ็นที่อยู่ฝั่งนิ้วโป้ง โดยปกติแล้วเส้นเอ็นดังกล่าวจะสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดายในเนื้อเยื่อที่มีลักษณะอุโมงค์คือปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ (sheath) เมื่อเกิดการอักเสบแล้ว การบวมจะทำให้เส้นเอ็นไม่สามารถเคลื่อนไหวภายในปลอกหุ้มเอ็นได้อย่างสะดวก

 

ปัจจัยเสี่ยง 

  • การใช้งานนิ้วโป้งและช้อมือที่มากเกินไป

  • การตั้งครรภ์

  • การดูแลทารกและให้นมบุตร

  • เป็นโรคช้ออักเสบรูมาตอยด์

  • เพศ โดยผู้หญิงอาจมีโอกาสเกิดโรคได้มากกว่าผู้ชาย

  • อายุ พบได้บ่อยในวัย 40-50 ปี

อาการแสดง

  • อาการปวดในข้อมือฝั่งข้างเดียวกับนิ้วโป้งซึ่งอาจค่อยๆเกิดอย่างช้าๆหรือเกิดอย่างฉับพลัน

  • อาการปวดไปตามแนวนิ้วโป้งหรือจากช้อมือลงมายังแขน

  • อาการบวมของข้อมือด้านนิ้วโป้ง

  • รู้สึกอาการเจ็บ เสียวเมื่อขยับนิ้วโป้ง

  • Feeling of snappy sensation when moving the thumb

การรักษา

การรักษาอาจเริ่มด้วยการรักษาแบบไม่ผ่าตัดก่อนเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆก่อนที่จะพิจารณาทำการผ่าตัด
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

  • การใส่อุปกรณ์พยุงนิ้วหัวแม่มือเพื่อให้ข้อมือยืดตรงและนิ้วโป้งอยู่ในจุดที่มีความคลาย

  • การใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs) ชนิดรับประทานหรือทา

  • การฉีดเสตียรอยด์บริเวณที่อักเสบ

  • การเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปวด

  • การประคบบริเวณที่เป็นด้วยน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวม

การรักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นการผ่าตัดโดยการกรีดบริเวณที่เป็นเล็กน้อยเพื่อให้ปลอกหุ้มเส้นเอ็นคลายและมีที่สำหรับเส้นเอ็นได้เคลื่อนไหวมากยิ่งชึ้น โดยจะลดอาการปวดและบวมได้ การเคลื่อนไหวจะกลับมาใช้ได้ปกติ

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

หากท่านมีอาการปวดจากการทำงานด้วยมือซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แม้ว่าได้ทดลองเลี่ยงการใช้งานข้างที่เป็น การประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมและการใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs) แล้วไม่ดีขึ้น โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ

Emergency
+66 2220 3899

Make an appointment, call an ambulance. Available for service 24 hours a day.

Call Us
+66 2220 7999

Available for service 24 hours a day.

Hospital map
How to get there