หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คืออะไร

หมอนรองกระดูก เป็นตัวเชื่อมของกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ เนื้อเยื่อด้านนอกที่มีลักษณะยืดหยุ่นเหมือนยาง และเนื้อเยื่อด้านในมีลักษณะคล้ายเจลลี่ ซึ่งหน้าที่หลักของหมอนรองกระดูก คือ ทำให้กระดูกสันหลังมีความยืดหยุ่น และรองรับการกระแทกจากการเคลื่อนไหวต่างๆ รวมถึงน้ำหนักตัว

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็น ภาวะที่หมอนรองกระดูกมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อด้านนอก ทำให้สารภายในรั่วออกมา แล้วไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวด ชา หรืออ่อนแรงบริเวณขาหรือมือ

สาเหตุ

  1. อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้หมอนรองกระดูกเสื่อม

  2. การเคลื่อนไหวที่ส่งผลให้เกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อชั้นนอกของหมอนรองกระดูก เช่น การยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง การนั่งในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การหมุนตัวผิดท่า อุบัติเหตุ เป็นต้น

  3. น้ำหนักตัวมาก

  4. พันธุกรรม ที่ส่งผลให้เนื้อเยื่อชั้นนอกของหมอนรองกระดูกฉีกขาดได้ง่าย

  5. การสูบบุหรี่

อาการแสดง

คนไข้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่อาจจะตรวจพบโดยบังเอิญจากภาพ X-ray

อาการขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่เกิดปัญหาและขึ้นอยู่ว่าเกิดการกดทับเส้นประสาทหรือไม่ ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  1. ปวดหลัง เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด

  2. ปวดร้าวไปยังอวัยวะต่างๆ โดยส่วนใหญ่มีลักษณะการปวดแบบปวดแปล้บ (sharp/shooting pain)

หากตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่บาดเจ็บอยู่บริเวณคอ มักจะปวดร้าวไปบริเวณแขน

หากตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่บาดเจ็บอยู่บริเวณหลังหรือหลังส่วนล่าง มักจะปวดร้าวไปบริเวณขา ก้น ต้นขา น่อง หลังส่วนล่าง และเท้า 

  1. ชาแขนหรือขา

การรักษา

การรักษาขึ้นยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย 

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้มีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่ถูกต้อง

  2. ใช้ยาบรรเทาอาการปวด ในกรณีที่มีอาการปวดระดับน้อยถึงปานกลาง สามารถใช้ยา Acetaminophen Ibuprofen Naproxen แต่หากปวดรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาฉีด cortisone หรือยาในกลุ่มโอปิออย (opioids)

  3. กายภาพบำบัด 

  4. การผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกสันหลังที่มีปัญหากดทับกระดูกสันหลังและเส้นประสาทออก (Diskectomy) 

  5. การผ่าตัดใส่หมอนรองกระดูกเทียม

 

เมื่อไหร่ควรปรึกษาแพทย์

  1. มีอาการปวดหลังที่ไม่สามารถบรรเทาด้วยการรับประทานยา

มีอาการปวดหลัง หรือปวดต้นคอ ร่วมกับปวดร้าวหรือชาบริเวณขา ก้น ต้นขา น่อง หลังส่วนล่าง และเท้า

ศูนย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คืออะไร

หมอนรองกระดูก เป็นตัวเชื่อมของกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ เนื้อเยื่อด้านนอกที่มีลักษณะยืดหยุ่นเหมือนยาง และเนื้อเยื่อด้านในมีลักษณะคล้ายเจลลี่ ซึ่งหน้าที่หลักของหมอนรองกระดูก คือ ทำให้กระดูกสันหลังมีความยืดหยุ่น และรองรับการกระแทกจากการเคลื่อนไหวต่างๆ รวมถึงน้ำหนักตัว

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็น ภาวะที่หมอนรองกระดูกมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อด้านนอก ทำให้สารภายในรั่วออกมา แล้วไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวด ชา หรืออ่อนแรงบริเวณขาหรือมือ

สาเหตุ

  1. อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้หมอนรองกระดูกเสื่อม

  2. การเคลื่อนไหวที่ส่งผลให้เกิดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อชั้นนอกของหมอนรองกระดูก เช่น การยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง การนั่งในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การหมุนตัวผิดท่า อุบัติเหตุ เป็นต้น

  3. น้ำหนักตัวมาก

  4. พันธุกรรม ที่ส่งผลให้เนื้อเยื่อชั้นนอกของหมอนรองกระดูกฉีกขาดได้ง่าย

  5. การสูบบุหรี่

อาการแสดง

คนไข้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่อาจจะตรวจพบโดยบังเอิญจากภาพ X-ray

อาการขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่เกิดปัญหาและขึ้นอยู่ว่าเกิดการกดทับเส้นประสาทหรือไม่ ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  1. ปวดหลัง เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด

  2. ปวดร้าวไปยังอวัยวะต่างๆ โดยส่วนใหญ่มีลักษณะการปวดแบบปวดแปล้บ (sharp/shooting pain)

หากตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่บาดเจ็บอยู่บริเวณคอ มักจะปวดร้าวไปบริเวณแขน

หากตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่บาดเจ็บอยู่บริเวณหลังหรือหลังส่วนล่าง มักจะปวดร้าวไปบริเวณขา ก้น ต้นขา น่อง หลังส่วนล่าง และเท้า 

  1. ชาแขนหรือขา

การรักษา

การรักษาขึ้นยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย 

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้มีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่ถูกต้อง

  2. ใช้ยาบรรเทาอาการปวด ในกรณีที่มีอาการปวดระดับน้อยถึงปานกลาง สามารถใช้ยา Acetaminophen Ibuprofen Naproxen แต่หากปวดรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาฉีด cortisone หรือยาในกลุ่มโอปิออย (opioids)

  3. กายภาพบำบัด 

  4. การผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกสันหลังที่มีปัญหากดทับกระดูกสันหลังและเส้นประสาทออก (Diskectomy) 

  5. การผ่าตัดใส่หมอนรองกระดูกเทียม

 

เมื่อไหร่ควรปรึกษาแพทย์

  1. มีอาการปวดหลังที่ไม่สามารถบรรเทาด้วยการรับประทานยา

มีอาการปวดหลัง หรือปวดต้นคอ ร่วมกับปวดร้าวหรือชาบริเวณขา ก้น ต้นขา น่อง หลังส่วนล่าง และเท้า

Emergency
+66 2220 3899

Make an appointment, call an ambulance. Available for service 24 hours a day.

Call Us
+66 2220 7999

Available for service 24 hours a day.

Hospital map
How to get there