อาการนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อคคืออะไร

อาการนิ้วล็อคเป็นอาการที่เส้นเอ็นมีการอักเสบและบวมจากการใช้งานนิ้วมืออย่างหนักและต่อเนื่อง โดยนิ้วอาจ “ล็อค” ติดอยู่ในจังหวะงอและเมื่อเหยียดนิ้วกลับจะมีเสียงดีดของเส้นเอ็นจึงไม่สามารถงอหรือเหยียดนิ้วได้ตามปกติ

ปัจจัยเสี่ยง 

  • การใช้งานนิ้วเป็นอย่างหนักจากกิจกรรมกระจำวัน มีการฝืนและใช้แรงกดต่อนิ้วสูงและมีการใช้ซ้ำๆ

  • มีประวัติเป็นโรคข้อเสื่อม โรครูมาตอยด์ เก๊าท์และเบาหวาน

อาการแสดง

  • อาการปวดตึงนิ้ว โดยเฉพาะช่วงเช้า

  • อาการบวมหรือมีก้อนอยู่ตรงฐานของนิ้ว

  • นิ้วล็อคอยู๋ในจังหวะงอ ซึ่งสามารถดันกลับได้หรืออาจไม่สามารถเหยียดกลับได้ปกติ

  • นิ้วมีเสียงดีดเมื่อมีการขยับ

การรักษา

การรักษาอาจเริ่มด้วยการรักษาตามอาการโดยใช้ยาแก้อักเสบที่มิเสตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆก่อนที่จะพิจารณาการรักษาแบบอื่น โดยอาการอาจดีขึ้นเอง ทั้งนี้ผู้ป่วยควรลดการใช้นิ้วและมีช่วงพักมากยิ่งขึ้น การใช้อุปกรณ์เพื่อดามนิ้วตอนกลางคืนและการออกกำลังนิ้วเบาๆอาจช่วยได้
หากอาการปวดและตึงยังไม่หาย อาจใช้การฉีดสเตียรอยด์เข้าบริเวณที่เป็น หรือผ่าตัดโดยกรีดเพียวเล็กน้อยเพื่อคลายอาการดังกล่าว

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

หากท่านมีอาการปวดจากนิ้วล็อคซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แม้ว่าได้ทดลองเลี่ยงการใช้งานข้างที่เป็น แล้วไม่ดีขึ้น โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ

ศูนย์กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

อาการนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อคคืออะไร

อาการนิ้วล็อคเป็นอาการที่เส้นเอ็นมีการอักเสบและบวมจากการใช้งานนิ้วมืออย่างหนักและต่อเนื่อง โดยนิ้วอาจ “ล็อค” ติดอยู่ในจังหวะงอและเมื่อเหยียดนิ้วกลับจะมีเสียงดีดของเส้นเอ็นจึงไม่สามารถงอหรือเหยียดนิ้วได้ตามปกติ

ปัจจัยเสี่ยง 

  • การใช้งานนิ้วเป็นอย่างหนักจากกิจกรรมกระจำวัน มีการฝืนและใช้แรงกดต่อนิ้วสูงและมีการใช้ซ้ำๆ

  • มีประวัติเป็นโรคข้อเสื่อม โรครูมาตอยด์ เก๊าท์และเบาหวาน

อาการแสดง

  • อาการปวดตึงนิ้ว โดยเฉพาะช่วงเช้า

  • อาการบวมหรือมีก้อนอยู่ตรงฐานของนิ้ว

  • นิ้วล็อคอยู๋ในจังหวะงอ ซึ่งสามารถดันกลับได้หรืออาจไม่สามารถเหยียดกลับได้ปกติ

  • นิ้วมีเสียงดีดเมื่อมีการขยับ

การรักษา

การรักษาอาจเริ่มด้วยการรักษาตามอาการโดยใช้ยาแก้อักเสบที่มิเสตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆก่อนที่จะพิจารณาการรักษาแบบอื่น โดยอาการอาจดีขึ้นเอง ทั้งนี้ผู้ป่วยควรลดการใช้นิ้วและมีช่วงพักมากยิ่งขึ้น การใช้อุปกรณ์เพื่อดามนิ้วตอนกลางคืนและการออกกำลังนิ้วเบาๆอาจช่วยได้
หากอาการปวดและตึงยังไม่หาย อาจใช้การฉีดสเตียรอยด์เข้าบริเวณที่เป็น หรือผ่าตัดโดยกรีดเพียวเล็กน้อยเพื่อคลายอาการดังกล่าว

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

หากท่านมีอาการปวดจากนิ้วล็อคซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แม้ว่าได้ทดลองเลี่ยงการใช้งานข้างที่เป็น แล้วไม่ดีขึ้น โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ

Emergency
+66 2220 3899

Make an appointment, call an ambulance. Available for service 24 hours a day.

Call Us
+66 2220 7999

Available for service 24 hours a day.

Hospital map
How to get there