ศูนย์อายุรกรรม ศูนย์อายุรกรรม
ศูนย์อายุรกรรม
โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
ศูนย์อายุรกรรม
ศูนย์อายุรกรรมให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย ด้วยทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมทีมพยาบาลที่ได้รับการอบรมตามมาตรฐานวิชาชีพ ทำให้ผลการตรวจวินิจฉัยแม่นยำ ถูกต้อง และสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม

 

ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยด้วยทีมแพทย์อายุรกรรม ที่เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา สามารถตรวจวินิจฉัยโรคทางด้านอายุรกรรมทั่วไปได้อย่างครอบคลุม พร้อมให้คำปรึกษา รวมถึงการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ

ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยทีมอายุรแพทย์เและอายุรแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขา
• คลินิกโรคเบาหวาน โรคอ้วนและต่อมไร้ท่อ
• คลินิกโรคไต
• คลินิกประสาทวิทยา
• คลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ
• คลินิกโรคเลือด
• คลินิกสุขภาพจิต

 

โรคเบาหวาน

1907.i203.006.diabetescartoo

โรคเบาหวานคืออะไร?

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) คือกลุ่มโรคเกิดเมื่อร่างกายเราไม่สามารถนำน้ำตาลในกระแสเลือดมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำตาลในเลือด หรือ กลูโคส(blood glucose) เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับการทำงานของเซลล์โดยเฉพาะอวัยวะ เช่น สมอง โรคเบาหวานมีหลายชนิดและทุกชนิดล้วนแต่นำไปสู่ภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่าปกติ

ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่ถูกสร้างจากตับอ่อนมีหน้าที่ช่วยนำกลูโคสเข้าไปในเซลล์และเซลล์จะใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงานในที่สุด หากท่านเป็นโรคเบาหวาน อาจเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้เพียงพอหรือไม่สร้างเลย หรือเซลล์ไม่ตอบสนองต่อกลไกการทำงานของอินซูลิน โรคเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดีอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงซึ่งอาจอันตรายถึงชีวิต

ชนิดของเบาหวานที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • Pre-diabetes: เป็นภาวะที่กลูโคสในกระแสเลือด แต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่จะถูกวินิจฉัยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยอาจแนะนำให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการรับประทานอาหารโดยยังไม่ต้องใช้ยา
  • เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes): จัดเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยตับอ่อนจะถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของตัวเอง โดยจำเป็นต้องติดตามค่าน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่องและใช้ยาอินซูลินทุกวัน
  • เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes): เป็นเบาหวานชนิดที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งร่างกายไม่สามารถตอบสนองได้ดีกับการทำงานของอินซุลินหรือสร้างไม่เพียงพอ เบาหวานชนิดนี้อาจต้องพึ่งพาการใช้ยาซึ่งมีกลไกแตกต่างกันออกไปและแพทย์จะแนะนำการรักษาซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยเฉพาะราย
  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes): เป็นโรคเบาหวานที่เกิดในผู้หญิงตั้งครรภ์และมักจะหายได้เองหลังการคลอด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ยกตัวอย่างเช่น:

  • โรคทางหลอดเลือดและหัวใจ
  • อาการปลายประสาทอักเสบ
  • ความเสียหายต่อไต
  • ความเสียหายต่อตา
  • การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง
  • แผลหายช้าและเกิดเนื้อตายที่อาจจำเป็นต้องตัดทิ้ง

ปัจจัยเสี่ยง

สำหรับเบาหวานชนิดที่ 1

  • ประวัติครอบครัวที่เคยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1
  • ความเสียหายของตับอ่อน
  • การตรวจพบ autoantibodies
  • สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2

    • ประวัติครอบครัวที่เคยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
    • เชื้อชาติ: คนผิวดำ ฮิสแปนิก, ชนพื้นเมืองอเมริกัน, เอเชียอเมริกัน
    • ภาวะอ้วน
    • ความดันโลหิตสูง
    • HDL ต่ำ Triglyceride สูง
    • ไม่ออกกำลังกาย
    • ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • สูบบุหรี่
    • สำหรับเบาหวานขณะตั้งครรภ์

      • ประวัติครอบครัวที่เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
      • เชื้อชาติ: แอฟริกัน-อเมริกัน ฮิสแปนิก ชนพื้นเมืองอเมริกัน หรือเอเชีย-อเมริกัน
      • ภาวะอ้วน

อาการแสดง

  • กระหายน้ำกว่าปกติ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • รู้สึกเหนื่อย เพลีย
  • ตาพร่า เบลอ
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เสี่ยงเกิดโรคติดเชื้อบ่อยครั้ง
  • แผลหายช้า
  • รู้สึกชามือชาเท้า
  • การรักษา

            Prediabetes: ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อลดการดำเนินของโรคไปเป็นโรคเบาหวาน

            เบาหวานชนิดที่ 1: ใช้อินซูลินทุกวันในขนาดที่ปรับรายบุคคล

            เบาหวานชนิดที่ 2: การใช้ยาต่างๆที่มีกลไกหลายชนิดเพื่อปรับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามคำแนะนำของแพทย์

            เบาหวานขณะตั้งครรภ์: ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารและออกกำลังกายเมื่อทำได้และตามคำแนะนำของแพทย์ อาจจำเป็นต้องใช้อินซูลินหรือยาโดยพิจารณาเฉพาะราย

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

หากท่านคิดว่าท่านมีอาการแสดงที่เข้าข่ายเบาหวานหรือตรวจพบค่าน้ำตาลในเลือดสูงจากการตรวจร่างกาย ควรนัดและปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการดำเนินโรคซึ่งจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายและกระทบคุณภาพชีวิต

 

ภาวะความดันโลหิตสูง

picture1

ภาวะความดันโลหิตสูงคืออะไร

ภาวะความดันโลหิตสูงคือภาวะที่มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติและโดยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดง เว้นแต่จะวัดความดันจึงพบว่ามีความดันโลหิตที่สูง โดยหากความดันโลหิตยิ่งสูงจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆเช่นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและไตวาย หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และลดคุณภาพชีวิตลง ทำให้จำเป็นต้องได้รับการรักษามากขึ้น

ความดันโลหิตปกติปัจจุบันมีนิยามว่าค่าบน (Systolic) และค่าล่าง (Diastolic) อยู่ที่ 120/80 mm Hg (มิลลิเมตรปรอท) และแนวทางการรักษาส่วนใหญ่จะแนะนำให้วินิจฉัยความดันโลหิตสูงหากความดันโลหิตสูงกว่าค่า 140/90 mm Hg อย่างไรก็ตาม The American College of Cardiology and the American Heart Association ให้วินิจฉัยความดันโลหิตสูงโดยหากอ่านค่าได้ สูงกว่า 130/80 mm Hg ให้ถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงซึ่งผู้ป่วยควรได้รับการรักษาไวขึ้น

สำหรับคนส่วนใหญ่จะไม่สามารถหาสาเหตุการเกิดที่แน่ชัดได้ จึงเรียกความดันโลหิตสูงชนิดนี้ว่า Primary Hypertension หรือ Essential Hypertension แต่หากความดันโลหิตที่สูงเกิดจากโรคอื่นๆจะเรียกว่า Secondary Hypertension

ปัจจัยเสี่ยง

  • ภาวะอ้วน
  • การรับประทานเค็มและทานผักและผลไม้น้อย
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • การดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟที่มากเกินไป
  • สูบบุหรี่
  • นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • อายุสูงกว่า 65 ปี
  • ประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง
  • เชื้อชาติแอฟริกา
  • การตั้งครรภ์

อาการแสดง

ความดันโลหิตสูงอาจถือได้ว่าเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตได้เนื่องจากส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใดๆ เว้นแต่จะวัดความดันโลหิตจึงพบว่าความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดหัว หายใจไม่คล่องและเลือดกำเดาไหลซึ่งเป็นอาการที่ไม่จำเพาะต่อความดันโลหิตสูงทำให้ไม่สงสัยในโรคนี้

การรักษา

  • การรักษาอาจเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากนั้นจึงร่วมกับการใช้ยา โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตรวมถึง:
  • การรับประทานเค็มน้อยลง
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่สูบบุหรี่
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7-9 ชั่วโมง

ยาที่ใช้รักษาความดันโลหิจสูงอาจใช้เป็นยาเดี่ยวหรือผสมหลายตัวจากหลาย กลไก ขึ้นอยู่กับความดันโลหิตของท่านและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ:

  • ยาขับปัสสาวะ: มักใช้เป็นยาตัวแรกๆเพื่อขจัดโซเดียมและน้ำออกจากร่างกาย ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือการปัสสาวะบ่อยขึ้นและระดับโปแตสเซียมในเลือดลดลง
  • Angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors: ช่วยคลายหลอดเลือด ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคืออาการไอแห้งๆ
  • Angiotensin II receptor blockers (ARBs): ช่วยคลายหลอดเลือด ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือมึนหัว ระดับโปแตสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติและบวมน้ำ
  • Calcium channel blocker (CCBs): ช่วยคลายกล้ามเนื้อหลอดเลือดและยาบางตัวในกลุ่มจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง
  • ยาอื่นๆอาจถูกนำมาใช้เป็นรายๆเพื่อควบคุมความดันและอาจเพื่อรักษาโรคร่วมอื่นๆ เช่น: Alpha blockers, Alpha-beta blockers, Beta blockers, Aldosterone antagonists, Renin inhibitors, Vasodilators, and Central-acting agents

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ความดันโลหิตจะถูกตรวจทุกครั้งในการรับบริการในสถานพยาบาลซึ่งเจ้าหน้าที่อาจทำการวัดซ้ำหลายครั้งหากท่านมีความดันโลหิตที่สูงและมีปัจจัยเสี่ยง แนะนำให้ตรวจสุขภาพทุกปีเพื่อตรวจวัดความดันโลหิตและโรคอื่นๆที่อาจซ่อนอยู๋และพบแพทย์เพื่อรับการรักษาหากท่านมีความดันโลหิตสูงแม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆเพื่อรับการรักษาแต่เนิ่นๆไม่ให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะอื่นๆ ท่านสามารถวัดความดันได้จากสถานบริการสุขภาพใกล้บ้านท่านเช่นกันเพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้น   

 

 

ไมเกรน

picture2

ปวดหัวไมเกรนคืออะไร

อาการปวดปวดหัวไมเกรนโดยทั่วไปมีอาการปวดหัวตุบๆเป็นจังหวะโดยมากเป็นข้างเดียว มีอาการรุนแรงปานกลางถึงมากซึ่งอาจรบกวนชีวิตประจำวันและลดคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างมาก การปวดหัวไมเกรนเป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่อาจเกิดได้หลายชั่วโมงจนถึงหลายวันและอาจมีอาการแย่ลงหากมีกิจกรรมต่างๆ สัมผัสแสง เสียงหรือกลิ่นตัวกระตุ้นต่างๆอาจรวมถึงความเครียดทางอารมณ์ การไม่ได้รับประทานอาหาร คาเฟอีน การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนช่วงประจำเดือน แสงจ้า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การเหนื่อยล้าเกินไป ความเปลี่ยนแปลงต่อการนอนหลับ การได้รับกลิ่นควันหรือกลิ่นอื่นๆ

ปัจจัยเสี่ยง

  • ประวัติครอบครัว
  • อายุ
  • เพศ – ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า
  • โรคอื่นๆ เช่นซึมเศร้า กังวล ปัญหาการนอนหลับหรือการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน

อาการแสดง

ไมเกรนมีสี่ระยะเรียงลำดับตามระยะเวลาที่เกิดดังนี้:

  • Prodrome: เป็นอาการนำซึ่งบางคนอาจไม่รู้สึก โดยระยะแรกนี้อาจกินระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงถึงหลายวัน อาการรวมถึงคลื่นไส้ อ่อนเพลีย ปัญหาการพูดหรืออ่าน หงุดหงิด อยากอาหาร ปัสสาวะเยอะขึ้น กล้ามเนื้อตึง
  • Aura: คนส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกในระยะนี้ โดยระยะ Aura จะเกิดขึ้นประมาณ 5 นาทีถึง 1 ชั่วโมง อาการอาจรวมถึงมองเห็นจุดดำ เห็นจุดแสงจ้า เห็นเส้นเป็นคลื่น สูญเสียการมองเห็นชั่วคราว การเปลี่ยนแปลงในการรับกลิ่นและรส
  • Headache: อาการปวดหัวไมเกรนมักเริ่มด้วยอาการปวดตื้อๆจนกลายเป็นปวดเป็นจังหวะตุบๆโดยส่วนมากจะรู้สึกคลื่นไส้และผู้ป่วยครึ่งนึงจะอาเจียน อาการอาจเกิดอยู่ประมาณ 4 ชั่วโมงถึง 3 วัน โดยปกติจะรู้สึกปวดหัว 2-4 ครั้งต่อเดือน แต่บางคนอาจเกิดแค่ 1-2 ครั้งต่อปีหรืออาจเกิดบ่อยทุกๆสองถึงสามวันต่อเดือน
  • Postdrome: ระยะนี้กินเวลาประมาณ 1-2 วัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรับรู้อาการในระยะนี้ อาการรวมถึงซึมเศร้า เหนื่อยล้าและอ่อนแรง

การรักษา

        อาการปวดหัวไมเกรนยังไม่มีการรักษาให้หายขาดแต่มียาหลากหลายชนิดเพื่อทำการรักษาและป้องกันอาการ โดยยาที่รักษาอาการปวดหัวได้แก่:

  • ยาแก้ปวด เช่นยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Ibuprofen, naproxen, และ aspirin และยาพาราเซตามอล โดยยาทุกตัวมักใช้ได้ผลแต่อย่างไรก็ตามอาจเกิดอาการปวดหัวซ้ำจากการใช้ยาดังกล่าวมากเกินไปและเกิดการติดการใช้ยา
  • Triptans
  • Ergotamine
  • CGRP receptor antagonists
  • ยาที่ใช้ป้องกันไมเกรนได้แก่:
  • ยาต้านซึมเศร้า
  • Calcium channel blockers
  • Beta blockers
  • CGRP antagonists
  • ยากันชัก

มื่อไหร่ควรพบแพทย์

หากท่านมีอาการปวดหัวไมเกรนอยู่บ่อยครั้งและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไม่ได้ช่วยป้องกันอาการ นัดหมายแพทย์เพื่อทำการตรวจและปรึกษาเรื่องอาการปวดหัวและวิธีการจัดการ สิ่งที่ช่วยได้คือการบันทึกรายละเอียดและเวลาการเกิดอาการปวดหัวไมเกรนเพื่อหารูปแบบของการเกิดอาการดังกล่าวและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หากท่านมีอาการปวดหัวพร้อมไข้ สับสนมึนงง ชัก เห็นภาพซ้อน ชาหรืออ่อนแรงในส่วนใดๆของร่างกาย ให้รีบติดต่อห้องฉุกเฉินเนื่องจากอาจเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมอง

 

โรคหลอดเลือดสมอง

picture3

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร

โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตเมื่อเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงส่วนของสมองได้ด้วยเหตุผลใดๆจึงทำให้เนื้อเยื่อสมองไม่ได้รับอ็อกซิเจนและสารอาหารทำให้เกิดการบาดเจ็บและเซลล์สมองตายซึ่งไม่สามารถรักษาได้ การได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องสำคัญที่จะป้องกันความเสียหายต่อสมองและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมถึงอาการอัมพาต ปัญหาการพูดคุยหรือการกลืน ความจำเสื่อม ปัญหาทางอารมณ์ อาการปวด การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม โดยทั้งนี้จะเป็นจุดที่อาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลพิเศษจากญาติและผู้ให้การดูแล

ปัจจัยเสี่ยง

  • ภาวะอ้วน
  • ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
  • ความดันโลหิตสูง
  • สูบบุหรี่หรือสูดกลิ่นควันบุหรี่
  • คอเลสเตอรอลสูง
  • เบาหวาน
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ประวัติครอบครัว
  • การติดเชื้อโควิด-19
  • อายุมากกว่า 55
  • เพศชายเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิง
  • การใช้ยาที่มีเอสโตรเจน

อาการแสดง

  • ปัญหาการพูดหรือเข้าใจสิ่งที่พูดคุย
  • ปัญหาการเดิน
  • อัมพาตหรือชาหน้า แขน ขา
  • ภาพเบลอ มืดหรือซ้อน
  • ปวดหัวรุนแรงพร้อมอาเจียน

การรักษา

การรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหลอดเลือดสมองที่แพทย์วินัจฉัย โดยหลักจะใช้ยาเป็นกรณีฉุกเฉินและเพื่อประคองอาการระยะยาวและอาจจะเป็นต้องมีอาการผ่าตัดเพื่อนำลิ่มเลือดออกและลดอาการบวมของสมอง

5829710

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

หากอาการเข้าได้กับโรคหลอดเลือดสมองหรือสงสัยว่าน่าจะเป็นให้นำส่งที่ห้องฉุกเฉินทันที ทุกวินาทีมีค่าสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้จำคำว่า FAST เมื่อพบผู้ป่วยที่อาการสงสัยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

  • Face: ให้ผู้ป่วยลองยิ้มและสังเกตุหากหน้าข้างใดข้างหนึ่งตก
  • Arms: ให้ผู้ป่วยยกแขนสองข้าง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอาจไม่สามารถยกแขนได้เลย
  • Speech: แม้ว่าจะรู้สึกตัว ผู้ป่วยอาจไม่สามารถพูดทวนประโยคที่เราพูดคุยกันได้และพูดไม่ได้ศัพท์และแปลกไป
  • Time: โทรสายด่วน 1669 ทันทีเมื่อสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือนำส่งผู้ป่วยไปยังห้องฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด ทุกวินาทีมีค่าสำหรับผู้ป่วย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ


ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 1 โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง

โทรศัพท์ 02 220 7999 ต่อ 81120 - 81123

 
บทความที่เกี่ยวข้อง
Good Shape with Health
Good Shape with Health
รู้ทันโรคอ้วน ภาวะอันตราย เสี่ยงหลายโรค
อ่านต่อ
ทำความรู้จัก มะเร็งปอด
ทำความรู้จัก มะเร็งปอด
มะเร็งปอดน่าเศร้าเมื่อเป็น ทว่าปัจจุบัน ในแง่การรักษาและพูดกันในวงการแพทย์ผู้รักษาโรคมะเร็ง มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่มีแนวทางในการรักษาที่หลากหลาย มีเส้นทางการรักษาที่ชัดเจน นำมาซึ่งความหวังและทางเลือกที่มากขึ้นสำหรับคนไข้
อ่านต่อ
ทำความรู้จัก ... มะเร็งลำไส้
ทำความรู้จัก ... มะเร็งลำไส้
มะเร็งลำไส้และไส้ตรง (Colorectal cancer) เป็นมะเร็งที่จำนวนผู้ป่วยติดอยู่ในอันดับหนึ่งในสามและสามารถรักษาได้ เราจะทราบได้อย่างไรว่าเข้าข่าย มีความเสี่ยง ชวนให้สงสัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ อ่านต่อ...
อ่านต่อ
โรคไตเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรังคือภาวะที่ไตไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าเดิม ไตมีหน้าที่สำคัญในการกรองของเสียจากเลือดทั้งร่างกายภายในทุกๆ 30 นาทีและยังมีหน้าที่อื่นๆเช่นการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง การควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม การรักษาสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
อ่านต่อ