ศูนย์โรคมะเร็ง ศูนย์โรคมะเร็ง
ศูนย์โรคมะเร็ง
โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
ศูนย์โรคมะเร็ง
ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษา แก่ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง, แนะนำวิธีการตรวจและเครื่องมือที่ทันสมัย และให้การรักษาแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัด การรักษาทางพันธุกรรมบำบัด ที่ช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง, การรักษาประคับประคอง โดยให้การดูแลขณะรักษาและหลังการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยบุคลากรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูงภายใต้มาตรฐานระดับสากล

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคมะเร็งอย่างครบวงจร ด้วยบุคลากรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูงภายใต้มาตรฐานระดับสากล โดยแพทย์จะประเมินความเสี่ยง ตรวจคัดกรอง วินิจฉัย ประเมินระยะของโรค และการติดตามค้นหารอยโรคที่กลับเป็นซ้ำได้อย่าง รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ

 

 

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมคืออะไร

มะเร็งเต้านมเป็นการโตของเซลล์เต้านมที่ผิดปกติและเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผุ้หญิงซึ่งเกิดในวัยใดก็ได้ ผู้ชายสามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกันแต่โอกาสการเกิดอาจน้อย ทั้งนี้ตัวมะเร็งสามารถลุกลามไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายถือเป็นระยะลุกลาม ในกรณีดังกล่าวอาจตรวจ biomarker เช่น HER2 และตัวรับฮอร์โมนต่างๆเพื่อพิจารณาการรักษาที่มีประสิทธิภาพกับผู้ป่วยรายนั้นๆ

ความเสี่ยง

◼️ เพศ: ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชาย

◼️ อายุที่มากขึ้น

◼️ มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเจ้านม

◼️ ครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านม

◼️ ยีนมีการกลายพันธุ์ (BRCA1, 2) ซึ่งได้มาจากพ่อแม่

◼️ ภาวะอ้วน

◼️ ประจำเดือนเริ่มก่อน 12 ขวบ และหรือหมดประจำเดือนช้าจึงทำให้ร่างกายได้รับเอสโตเจนเป็นระยะเวลาที่นาน

◼️ สูบบุหรี่

◼️ ดื่มแอลกอฮอล

◼️ ประวัติฉายแสงที่หน้าอก

◼️ การใช้ยาทดแทนฮอร์โมน

อาการแสดง

อาการที่ท่านควรสังเกตุไปพบแพทย์คือ:

◼️ การเปลี่ยนแปลงของลักษณะเต้านม (ขนาด รูปร่าง ความเว้า)

◼️ คลำเจอก้อนด้วยตนเอง

◼️ การเปลี่ยนแปลงบนผิวหนังของเต้านม เช่นการอักเสบ

◼️ มีบริเวณที่แข็งขึ้นใต้ผิวของเต้านม

◼️ มีสารคัดหลังเปื้อนเลือดหรือใสจากหัวนม

◼️ หัวนมบอดที่พึ่งเป็น

การคัดกรองและวินิจฉัยมะเร็งเต้านม

แพทย์จะทำการตรวจเต้านมและประเมินจากประวัติครอบครัว ประวัติสุขภาพและอาการโดยการทดสอบมีหลายวิธี

◼️ Mammogram – เป็นการฉาย x-ray ที่เต้านมโดยใช้สำหรับการคัดครองมะเร็งเต้านม

   ◻️ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่จะได้รับประโยชน์จากการคัดครองมะเร็งเต้านม ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินช่วงและความถี่ในการตรวจคัดกรองเป็นรายบุคคล

◼️ Ultrasound

◼️ Magnetic resonance imaging (MRI)

◼️ Biopsy – การตัดตัวอย่างเซลล์เต้านมส่งไปยังห้องแลบเพื่อตรวจว่าเซลล์เป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่

หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว แพทย์จะทำการตรวจและประเมินระยะของมะเร็ง โดยมะเร็งมีระยะตั้งแต่ 0 ถึง 4 โดยระยะ 0 คือมะเร็งที่ไม่ลุกลามและอยู่แต่ในท่อน้ำนมและระยะที่ 4 เป็นมะเร็งระยะลุกลามซึ่งลุกลามจากจุดเริ่มแรกไปยังบริเวณอื่นของร่างกาย ลักษณะอื่นๆอาจได้รับการประเมินตามความจำเป็นของแต่ละรายเช่นตัวรับเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรนและ HER2 โดยแพทย์จะสามารถคาดการณ์ผลลัพท์ของการรักษาและเลือกวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสม

การรักษา  

การรักษามีหลายแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย โดยประเมินจากชนิดของมะเร็งเต้านม ขนาด ความไวต่อฮอร์โมนต่างๆ ระยะของมะเร็งเป็นต้น โดยผู้ป่วยอาจได้รับการผ่าตัดร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด ฮอร์โมน หรือการฉายแสง โดยวิธีการรักษาต่างๆมีดังนี้:

◼️ การผ่าตัด – ทางเลือกในการผ่าตัดต่างๆเช่นการผ่าตัดมะเร็งเต้านมออก (lumpectomy) หรือผ่าตัดเต้านมทั้งหมด (total mastectomy) และการผ่านำต่อมน้ำเหลืองจุดต่างๆออก

◼️ การฉายแสง

◼️ ยาเคมีบำบัด

◼️ ยาฮอร์โมน

◼️ ยาพุ่งเป้า (Targeted Therapy)

◼️ ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

 

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง (Cancer cachexia)

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง (Cancer cachexia) เป็นหนึ่งในภาวะทุพโภชนา (malnutrition) ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็ง เป็นกลุ่มอาการที่ซับซ้อน โดยจะพบการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle) อย่างเนื่องและ/หรือ ร่วมกับการสูญเสียไขมัน (adipose tissue) ในร่างกาย ซึ่งภาวะนี้จะมีผลทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง ทำให้เพิ่มความถี่และความรุนแรงของการติดเชื้อ เพิ่มอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน อัตราการตาย และมีผลทำให้คุณภาพชีวิตลดลง นอกจากนี้ยังมีผลต่อการรักษาโรค คือ ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดลดลง เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนหลังได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด เพิ่มระยะเวลาในการรักษาในโรงพยาบาล และตัวผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีพยากรณ์โรคไม่ดี (poor prognosis) ทำให้ ระยะเวลาการรอดชีวิต (survival time) ลดลง ดังนั้นถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลโภชนาการที่ดีตั้งแต่เริ่มแรกจะสามารถป้องกันการเกิดภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเบื่ออาหารและผอมหนังหุ้มกระดูกจากโรคมะเร็ง  

1. ปัจจัยจากก้อนมะเร็ง (tumor factor)

    1.1 เซลล์มะเร็ง มีการหลั่งสารต่างๆ ได้แก่ cytokine, hormone, tumor derived factor ซึ่งทำให้เพิ่มขบวนการเผาผลาญ (metabolism) ของ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งต้องการสารอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนสูงขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากร่างกายได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดการสลายกล้ามเนื้อและไขมันแม้อยู่ในระยะพัก

    1.2 ขนาดของก้อนมะเร็งที่โต ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินอาหาร

2. ปัจจัยจากการรักษามะเร็ง (anti-neoplastic treatment)

     2.1 ยาเคมีบำบัดและ การฉายแสง มักทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ส่งผลให้ปริมาณการกินอาหารลดลง คือ ภาวะคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เยื่อบุเมือกอักเสบ (mucositis) การรับรสอาหารเปลี่ยนแปลง

     2.2 การผ่าตัด อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหาร เช่น การผ่าตัดบริเวณคออาจมีผลทำให้กลืนลำบาก

อาการและอาการแสดง

1. มวลกล้ามเนื้อลดลงอย่างต่อเนื่องและ/หรือ เนื้อเยื่อไขมันในร่างกายลดลง (อาการแสดงที่สำคัญของภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากโรคมะเร็ง)

2. น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว

3. ภาวะเบื่ออาหาร

4. มีอาการคลื่นไส้เรื้อรัง

5. ซีด (anemia)

6. อ่อนเปลี้ย (asthenia)

7. ภาวะซึมเศร้า

หมายเหตุ อาการแสดงที่ 1 และ 2 จะไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติได้โดยการให้สารอาหารเพียงอย่างเดียว

การรักษา

การดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ ประกอบไปด้วย 3 วิธี ได้แก่

1. การรักษาต้นเหตุ คือ การรักษาโรคมะเร็ง

2. การให้การดูแลภาวะโภชนาการ (Nutrition Care Process) และการให้โภชนบำบัด (Nutritional support) ในผู้ป่วยมะเร็ง (ต้องพิจารณาเป็นการรักษาเสริมร่วมกับการรักษาวิธีอื่น)

3. การรักษาโดยการใช้ยา (Pharmacotherapy intervention) (ต้องพิจารณาเป็นการรักษาเสริมร่วมกับการรักษาวิธีอื่น) ดังนี้

    1. กระตุ้นการอยากอาหาร

       1.1 Progestational agent ได้แก่ Megestrol acetate

       1.2 Corticosteroids

       1.3 Cannabinoids

       1.4 Serotonin modulators

   2. ยาที่ยับยั้งการทำงานของ cytokine

       2.1 ยับยั้งการสร้าง/การหลั่ง cytokine; Pentoxifylline, Thalidomide, Melatonin, Statins, ACE-inhibitors, Anti-COX2

       2.2 Proteosome inhibitor; EPA

 

 

อาการคลื่นไส้ อาเจียนที่เกิดจากยาเคมีบำบัด

 picture12

        การคลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการข้างเคียงที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด (ประมาณร้อยละ 90 หากไม่ได้ยาป้องกันการอาเจียน) การป้องกันการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด (chemotherapy induced nausea and vomiting; CINV) ที่ไม่มีประสิทธิภาพนั้น จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนที่รุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้ นำไปสู่การเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น อาการขาดน้ำ (dehydration) การเสียสมดุลของกรด ด่างและอิเลคโตรไลท์ (Electrolyte imbalances) มีการฉีกขาดของเบื่อบุทางเดินอาหาร โรคปอดอักเสบที่เกิดจาการสำลัก (aspiration pneumonia) เบื่ออาหาร (anorexia) น้ำหนักลดอย่างรุนแรง (severe weight loss) จนนำไปสู่การเกิดภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) นอกจากนี้ การที่ไม่สามารถควบคุมอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ยังส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง อีกทั้งกระทบต่อสภาวะจิตใจของผู้ป่วย ก่อให้เกิดอาการวิตกกังวล จนนำไปสู่การปฏิเสธการรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด เนื่องจากไม่สามารถทนต่ออาการคลื่นไส้ อาเจียนได้

ชนิดของอาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด

อาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดสามารถแบ่งตามระยะเวลาการเกิดอาการได้เป็น 5 ชนิดได้แก่

1. การคลื่นไส้อาเจียนชนิดเฉียบพลัน (Acute CINV) เป็นอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง แรกหลังจากได้รับเคมีบำบัด

2. การอาเจียนชนิดล่าช้า (Delayed CINV) เป็นอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับเคมีบำบัด 24 ชั่วโมงจนถึง 120 ชั่วโมง

3. การคลื่นไส้อาเจียนก่อนได้รับเคมีบำบัด (Anticipatory CINV) เป็นอาการคลื่นไส้อาเจียนซึ่งเกิดก่อนได้รับยาเคมีบำบัด เนื่องจากผู้ป่วยมีความวิตกกังวลการมารับเคมีบำบัด

4. Breakthrough CINV เป็นอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดขึ้น แม้ว่าผู้ป่วยได้รับยาป้องกันการคลื่นไส้ อาเจียนครบถ้วนตามมาตรฐานแล้ว

5. การอาเจียนชนิดที่ดื้อ (refractory CINV) เป็นอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดขึ้นจากการล้มเหลวของการใช้ยาป้องกันการคลื่นไส้ อาเจียนชนิด Breakthrough

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากยาเคมีบำบัด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องจากยาเคมีบำบัด คือระดับความสามารถในการกระตุ้นการคลื่นไส้อาเจียน (emetogenicity of chemotherapeutic agent) ของยาเคมีบำบัดแต่ละตัว

2. ปัจจัยที่เกิดจากตัวผู้ป่วยเอง (patient-specific factor) ที่ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดสูง

   2.1 ผู้ป่วยที่มีประวัติคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับยาเคมีบำบัดครั้งก่อน

   2.2 ผู้ป่วยที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์

   2.3 ผู้ป่วยที่เป็น Motion sickness

   2.4 ผู้ป่วยหญิงและเด็ก

การรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากยาเคมีบำบัด

1. ยา 5-HT3 receptor antagonist มีประสิทธิภาพมากที่สุดในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังจากให้ยาเคมีบำบัด หรือที่เรียกว่า การคลื่นไส้ อาเจียนชนิดเฉียบพลัน (Acute CINV)

2. ยาต้านอาหารไม่ย่อย (anti-dyspeptic drug) เช่น metoclopramide เริ่มมีประสิทธิภาพตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 3 ของการให้ยาเคมีบำบัด

3. ยาในกลุ่ม NK-1 receptor antagonist มีประสิทธิภาพในการรักษาการคลื่นไส้ อาเจียนทั้งชนิดเฉียบพลันและล่าช้า

4. glucocorticoids มีประสิทธิภาพในการรักษาการคลื่นไส้ อาเจียนทั้งชนิดเฉียบพลันและล่าช้า

 

 

ศูนย์โรคมะเร็ง 

เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น.

ชั้น B1 โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง 

สอบถามเพิ่มเติม 02 220 7999