ศูนย์ระบบทางเดินปัสสาวะ
ศูนย์ระบบทางเดินปัสสาวะ รพ.ธนบุรีบำรุงเมือง ให้บริการตรวจ วินิจฉัย และรักษา ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และทีมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะและบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการตรวจรักษาโรคเฉพาะทางนอกจากนี้ยังมีศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทั้งการผ่าตัดทั่วไปและการผ่าตัดแบบส่องกล้อง เช่น การผ่าตัดเนื้อต่อมลูกหมากด้วยวิธีต่างๆ การรักษาต่อมลูกหมากโต อาการปัสสาวะเล็ดราดเป็นต้น
ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปอย่างมากในปัจจุบัน การผ่าตัดแผลเล็กผ่านเครื่องมือเฉพาะ หรือที่เรียกว่า Minimally Invasive Surgery (MIS) จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากและสามารถแทนที่การผ่าตัดแบบเปิดในสมัยก่อน เนื่องจากสามารถลดขนาดของแผลผ่าตัด ลดความเจ็บปวดที่เกิดจากแผลผ่าตัด และยังช่วยลดระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าตัดได้อีกด้วย ทำให้การผ่าตัดแผลเล็ก MIS นั้นเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน
โรคต่อมลูกหมากโต
โรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร
โรคต่อมลูกหมากโตคือภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ชายเมื่ออายุมากขึ้นและอาจทำให้เกิดอาการเกี่ยวกับการปัสสาวะที่ผิดปกติไป เมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นจะไปเบียดท่อปัสสาวะและในระยะยาวอาจส่งผลให้เกิดปัญหากับกระเพาะปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะหรือไตได้
ปัจจัยเสี่ยง
- ◼️ อายุ
- ◼️ ประวัติครอบครัว
- ◼️ เบาหวาน
- ◼️ โรคหัวใจ
- ◼️ โรคอ้วน.
- อาการแสดง
- ◼️ ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยขึ้น
- ◼️ ปัสสาวะบ่อย ต้องรีบเข้าห้องน้ำเพื่อไม่ให้เล็ดราด
- ◼️ ปัสสาวะยากต้องเบ่งและการปัสสาวะไม่สุด
- ◼️ ปัสสาวะไม่พุ่ง
- ◼️ ปัสสาวะหยดหลังปัสสาวะเสร็จ
- ◼️ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
- ◼️ รู้สึกอยากปัสสาวะอีกแม้ว่าพึ่งปัสสาวะเสร็จ
- ◼️ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
การรักษา
การรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาดของต่อมลูกหมาก อายุและอาการที่พบ โดยมีวิธีการรักษาโดยการใช้ยาและการผ่าตัดที่เป็นแผลเล็ก บาดเจ็บน้อยวิธีต่างๆเช่นการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งจะทำให้ลดอาการไม่พึ่งประสงค์จากการรักษา ระยะเวลาการพักฟื้นและค่าใช้จ่าย
การใช้ยามีดังนี้:
- ◼️ Alpha blockers: ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ทางออกของกระเพาะปัสสาวะและต่อมลูกหมากทำให้ปัสสาวะไหลสะดวกขึ้นอย่างรวดเร็ว
- ◼️ 5-alpha reductase inhibitors: เป็นการรักษาโดยฮอร์โมนเพื่อลดขนาดของต่อมลูกหมาก อาจใช้ร่วมกับยากลุ่ม alpha blockers เนื่องจากอาจต้องใช้นานถึง 3-6 เดือนจึงจะเห็นผล
การผ่าตัดแผลเล็กบาดเจ็บเล็กน้อยวิธีต่างๆมีดังนี้:
- Transurethral resection of the prostate (TURP) – เป็นการผ่าตัดผ่านทางกล้องเพื่อเอาเนื้อต่อมลูกหมากส่วนที่อุดขวางออกเพื่อให้ปัสสาวะไหลได้ดี
- Transurethral incision of the prostate (TUIP) – เป็นการผ่าตัดผ่านทางกล้องเพื่อกรีดแผลขนาดเล็กบริเวณต่อมลูกหมากเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ปัสสาวะไหลผ่านได้สำหรับผู้ป่วยที่มีต่อมลูกหมากโตไม่มากหรือมีความเสี่ยงในการผ่าตัด
- Transurethral microwave thermotherapy (TUMT) – ใช้พลังงานไมโครเวฟเพื่อทำลายส่วนในของต่อมลูกหมากและทำให้หดตัวลง
- Transurethral needle ablation (TUNA) – เป็นการใช้คลื่นวิทยุส่งผ่านเข็มที่วางไว้บนเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่โตเพื่อทำลายส่วนที่เกินออกมา
- Laser therapy – การใช้เลเซอร์โดยมากจะบรรเทาอาการได้ทันทีและมีผลข้าวเคียงน้อยกว่าวิธีอื่นๆ
- Prostatic urethral lift (PUL) - อาจพิจารณาใช้ในผู้ชายที่กังวลเรื่องอวัยวะเพศไม่แข็งตัวและปัญหาการหลั่ง
- Robot-assisted prostatectomy – เป็นการผ่าตัดที่อาจจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีต่อมลูกหมากที่โตมาก
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
หากท่านมีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะควรปรึกษาศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะเพื่อรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้เหมาะสมเป็นรายบุคคล
ปัสสาวะเล็ดราด

อาการปัสสาวะเล็ดราดคืออะไร
อาการปัสสาวะเล็ดราดคือภาวะที่สูญเสียการควบคุมของกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดราดซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเขินอายเมื่อพบปะผู้อื่น โดยอาการปัสสาวะเล็ดราดอาจเกิดได้หลายแบบเช่นเมื่อตอนไอหรือจามหรือในกรณีที่เป็นรุนแรงขึ้นอาจรู้สึกปวดปัสสาวะจนทนไม่ไหวจนไม่สามารถไปห้องน้ำได้ทันเวลา
ปัจจัยเสี่ยง
- ◼️ อายุที่สูงขึ้น
- ◼️ ภาวะอ้วน
- ◼️ การสูบบุหรี่
- ◼️ ประวัติครอบครัว
- ◼️ โรคทางระบบประสาท
- ◼️ โรคเบาหวาน
อาการแสดง
อาการปัสสาวะเล็ดราดอาจเกิดได้ในหลากหลายรูปแบบดังนี้
- - Stress incontinence – ปัสสาวะเล็ดราดเมื่อมีแรงกระทำในช่องท้อง เช่นการไอ จาม ออกกำลังกาย ยกของหนัก
- - Urge incontinence – ปัสสาวะเล็ดราดเมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะ
- - Overflow incontinence (chronic urinary retention) – ภาวะปัสสาวะล้นเมื่อมีปัสสาวะปริมาณมากเกินความจุของกระเพาะปัสสาวะ
- - Total incontinence – เป็นภาวะที่กระเพาะปัสสาวะไม่สามารถเก็บกักปัสสาวะได้และปล่อยปัสสาวะออกมาทั้งหมดหรือเกิดอาการเล็ดบ่อยครั้ง
- - Mixed incontinence – คือปัญหาปัสสาวะเล็ดราดมากกว่า 1 รูปแบบร่วมกัน
การรักษา
การรักษาจะขึ้นอยู่กับประเภทของอาการปัสสาวะเล็ดราดและสาเหตุการเกิดโดยมีการรักษาหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น:
- ◼️ เทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- - การฝึกกระเพาะปัสสาวะเพื่อเรียนรู้วิธีที่จะรอเวลาได้นานขึ้นในช่วงระหว่างที่รู้สึกปวดปัสสาวะจนถึงเวลาปัสสาวะ
- - การเข้าห้องน้ำเป็นเวลาแทนการรอให้ปวดปัสสาวะ
- - ลดการดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีนและอาหารที่มีความเป็นกรด
- - ปัสสาวะซ้ำเพื่อให้ปัสสาวะได้หมดยิ่งขึ้น
- ◼️ การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- ◼️ การใช้ยา
- - Anticholinergics
- - Alpha-blockers
- - Mirabegron
- - Topical estrogen
- - การใช้แผ่นรองซับและสายสวนปัสสาวะ
- ◼️ การผ่าตัด
- - Artificial urinary sphincter
- - Sling procedures
- - Bladder neck suspension
- - Prolapse surgery
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
หากท่านมีปัญหาการควบคุมการปัสสาวะ ควรนัดหมายศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะเพื่อรับการรักษา เนื่องจากอาการปัสสาวะเล็ดราดส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมากและอาจทำให้การเกิดปัญหาในการเข้าสังคม อีกทั้งอาการปัสสาวะเล็ดราดอาจเป็นสัญญาณปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ จึงควรรีบมาตรวจเพื่อรับการรักษาให้เร็วที่สุด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ศูนย์ระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลธนบุรี บํารุงเมือง
โรงพยาบาลธนบุรี บํารุงเมือง
โทรศัพท์ : 02 220 7999