ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
ทางศูนย์มีบริการแพทย์กระดูกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หลากหลายสาขา และเทคโนโลยีการรักษา การผ่าตัดที่ทันสมัยพร้อมให้การดูแลแบบองค์รวม เพื่อให้ท่านกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว
การบริการ
Diseases and Condition
- ประวัติไหล่หลุดซ้ำ ข้อไหล่โยกเยก ไม่มั่นคง ขยับไม่ได้สุด
- อาการปวดข้อศอก งอเหยียดเจ็บ ติด ขยับไม่ได้สุด ปวดร้าวลงปลายมือ เวลาขยับ
Procedures
1.Robotic Knee/Joint replacement
2.Arthroscopic Surgery
3.Carpal Tunnel Release
4.ใส่เฝือก/ถอดเฝือก
5.ผ่าตัดแก้นิ้วล็อค
6.ฉีดยาแก้ปวดที่กระดูกสันหลัง
7.ตรวจมวลกระดูก
สุขภาพกระดูก
การเสริมสุขภาพกระดูก
กระดูกมีความสำคัญอย่างมากในร่างกาย โดยมีหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย การปกป้องอวัยวะที่สำคัญต่างๆ การเก็บกักแร่ธาตุที่สำคัญเช่นแคลเซียมรวมถึงไขกระดูกที่มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดงสำหรับร่างกาย ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการสร้างกระดูกในวัยเด็กและดูแลรักษาสภาพกระดูกเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว
ความสำคัญในการดูแลสุขภาพกระดูก
กระดูกมีการสร้างและทำลายพร้อมๆกันตลอดเวลา ในวัยเด็ก กระดูกจะถูกสร้างได้ไวกว่าที่ถูกทำลายดังนั้นมวลกระดูกจึงเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตามเมื่อย่างเข้าวัยผู้ใหญ่อายุ 20 ปีเป็นต้นไป การสร้างกระดูกจะเริ่มช้าลงจนพบปริมาณมวลกระดูกที่สูงที่สุดช่วงอายุประมาณ 30 ดังนั้นจึงมีความสำคัญในการตระหนักรู้เพื่อเสริมสร้างมวลกระดูกตั้งแต่วัยเด็กเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกระดูก
การดูแลรักษาสุขภาพกระดูกให้แข็งแรง
โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนคืออะไร
โรคกระดูกพรุนคือภาวะที่กระดูกมีความอ่อนแอและเปราะ เสี่ยงต่อการแตกหักจากการหกล้มหรือแม้กระทั่งแรงที่กระทำต่อกระดูกเพียงเล็กน้อย กระดูกมีการสร้างและทำลายพร้อมๆกันตลอดเวลา ในวัยเด็ก กระดูกจะถูกสร้างได้ไวกว่าที่ถูกทำลายดังนั้นมวลกระดูกจึงเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโต
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนเกิดได้จากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างอาจสามารถใช้วิธีการปรับวิถีชีวิตประจำวันเพื่อช่วยลดความเสี่ยงได้มากขึ้น
อาการแสดง
โดยทั่วไปในช่วงแรกของการสูญเสียมวลกระดูกมักไม่พบอาการใดๆ อย่างไรก็ตามหากกระดูกได้มีความอ่อนแอและเสี่ยงแตกหักโดยภาวะกระดูกพรุนแล้วนั้น ควรต้องหมั่นสังเกตุอาการดังนี้
อาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยจากโรคกระดูกพรุนคือ ข้อมือหัก แขนหัก สะโพกหัก อุ้มเชิงกรานหัก หรืออาจถึงขั้นกระดูกสันหลังหัก โดยการไอหรือจามอาจส่งผลให้กระดูกซี่โครงหักและมีอาการปวดได้
การรักษา
การรักษาสุขภาพกระดูกให้แข็งแรงเป็นเรื่องที่สำคัญและควรทำเพื่อชะลอการเกิดโรคทางกระดูก โปรดติดตามอ่านบทความเรื่องสุขภาพกระดูกสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุนมีหลายขนานดังนี้
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
หากท่านมีความกังวลเรื่องปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน สามารถติดต่อรับการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องมือที่แม่นยำได้ที่โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เดอกาแวง
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เดอกาแวงคืออะไร
โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เดอกาแวง เป็นภาวะที่มีอาการปวดบริเวณข้อมือด้านนิ้วโป้ง มีสาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นเอ็นที่อยู่ฝั่งนิ้วโป้ง โดยปกติแล้วเส้นเอ็นดังกล่าวจะสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดายในเนื้อเยื่อที่มีลักษณะอุโมงค์คือปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ (sheath) เมื่อเกิดการอักเสบแล้ว การบวมจะทำให้เส้นเอ็นไม่สามารถเคลื่อนไหวภายในปลอกหุ้มเอ็นได้อย่างสะดวก
ปัจจัยเสี่ยง
อาการแสดง
การรักษา
การรักษาอาจเริ่มด้วยการรักษาแบบไม่ผ่าตัดก่อนเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆก่อนที่จะพิจารณาทำการผ่าตัด
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นการผ่าตัดโดยการกรีดบริเวณที่เป็นเล็กน้อยเพื่อให้ปลอกหุ้มเส้นเอ็นคลายและมีที่สำหรับเส้นเอ็นได้เคลื่อนไหวมากยิ่งขึ้น โดยจะลดอาการปวดและบวมได้ การเคลื่อนไหวจะกลับมาใช้ได้ปกติ
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
หากท่านมีอาการปวดจากการทำงานด้วยมือซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แม้ว่าได้ทดลองเลี่ยงการใช้งานข้างที่เป็น การประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมและการใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs) แล้วไม่ดีขึ้น โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คืออะไร
หมอนรองกระดูก เป็นตัวเชื่อมของกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ เนื้อเยื่อด้านนอกที่มีลักษณะยืดหยุ่นเหมือนยาง และเนื้อเยื่อด้านในมีลักษณะคล้ายเจลลี่ ซึ่งหน้าที่หลักของหมอนรองกระดูก คือ ทำให้กระดูกสันหลังมีความยืดหยุ่น และรองรับการกระแทกจากการเคลื่อนไหวต่างๆ รวมถึงน้ำหนักตัว
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็น ภาวะที่หมอนรองกระดูกมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อด้านนอก ทำให้สารภายในรั่วออกมา แล้วไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวด ชา หรืออ่อนแรงบริเวณขาหรือมือ
สาเหตุ
อาการแสดง
คนไข้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่อาจจะตรวจพบโดยบังเอิญจากภาพ X-ray
อาการขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่เกิดปัญหาและขึ้นอยู่ว่าเกิดการกดทับเส้นประสาทหรือไม่ ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่
หากตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่บาดเจ็บอยู่บริเวณคอ มักจะปวดร้าวไปบริเวณแขน
หากตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่บาดเจ็บอยู่บริเวณหลังหรือหลังส่วนล่าง มักจะปวดร้าวไปบริเวณขา ก้น ต้นขา น่อง หลังส่วนล่าง และเท้า
การรักษา
การรักษาขึ้นยู่กับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย
เมื่อไหร่ควรปรึกษาแพทย์
อาการนิ้วล็อค
อาการนิ้วล็อคคืออะไร
อาการนิ้วล็อคเป็นอาการที่เส้นเอ็นมีการอักเสบและบวมจากการใช้งานนิ้วมืออย่างหนักและต่อเนื่อง โดยนิ้วอาจ “ล็อค” ติดอยู่ในจังหวะงอและเมื่อเหยียดนิ้วกลับจะมีเสียงดีดของเส้นเอ็นจึงไม่สามารถงอหรือเหยียดนิ้วได้ตามปกติ
ปัจจัยเสี่ยง
อาการแสดง
การรักษา
การรักษาอาจเริ่มด้วยการรักษาตามอาการโดยใช้ยาแก้อักเสบที่มิเสตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆก่อนที่จะพิจารณาการรักษาแบบอื่น โดยอาการอาจดีขึ้นเอง ทั้งนี้ผู้ป่วยควรลดการใช้นิ้วและมีช่วงพักมากยิ่งขึ้น การใช้อุปกรณ์เพื่อดามนิ้วตอนกลางคืนและการออกกำลังนิ้วเบาๆอาจช่วยได้
หากอาการปวดและตึงยังไม่หาย อาจใช้การฉีดสเตียรอยด์เข้าบริเวณที่เป็น หรือผ่าตัดโดยกรีดเพียงเล็กน้อยเพื่อคลายอาการดังกล่าว
เมื่อไหร่ควรพบแพทย์
หากท่านมีอาการปวดจากนิ้วล็อคซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน แม้ว่าได้ทดลองเลี่ยงการใช้งานข้างที่เป็น แล้วไม่ดีขึ้น โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ
ศูนย์กระดูกและข้อ ชั้น 3 โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
โทรศัพท์ 02 220 7999 ต่อ 83060, 83061