การรักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง

ออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric oxygen therapy) รักษาแผลเบาหวานได้จริงหรือไม่??

หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่พบบ่อย คือ แผลที่เท้าเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากผลของระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้การไหลเวียนเลือดไปที่แผลน้อยลง เนื้อเยื่อรอบแผลมีระดับออกซิเจนต่ำ เซลล์ต่างๆที่มีหน้าที่ทำให้แผลหายไม่สามารถทำงานสร้างเนื้อเยื่อได้ตามปกติ ส่งผลให้แผลหายช้า และอาจก่อให้เกิดภาวะดื้อยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จนนำไปสู่การตัดขา

การบำบัดด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric oxygen therapy: HBOT) เป็นการบำบัดโดยให้ผู้ป่วยหายใจเอาออกซิเจนบริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็น ขณะอยู่ในห้องปรับบรรยากาศที่มีความดันภายในสูงกว่า 1 บรรยากาศ ที่มีลักษณะเหมือนหลอดแก้วขนาดใหญ่

ซึ่งการหายใจด้วยวิธีนี้จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในประมาณสูงมากกว่าการหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ที่บรรยากาศปกติหลายเท่า ทำให้เลือดมีออกซิเจนเพียงพอที่จะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อและหลอดเลือดฝอย รวมถึงช่วยให้เลือดไหลเวียนไปสู่อวัยวะที่ขาดเลือดได้ดีขึ้น HBOT จึงมีผลในการเสริมสร้างการหายของบาดแผล โดยเฉพาะแผลเรื้อรังที่เกิดจากเบาหวาน

ผลดีของการรักษาด้วย HBO คือ ลดความพิการและสูญเสียอวัยวะ ซึ่งบางรายแพทย์อาจต้องทำผ่าตัดเอาอวัยวะส่วนนั้นทิ้ง เช่นตัดนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ช่วยให้แผลเรื้อรังต่างๆที่เกิดจากการขาดออกซิเจนหายเร็วขึ้น จึงช่วยลดระยะเวลาของการรักษาลง สามารถทำกิจวัตรประจำวันตามปกติได้เร็วขึ้น และลดค่าใช้จ่าย

นอกเหนือจากการรักษาแผลเรื้อรังจากเบาหวาน HBOT ยังมีข้อบ่งชี้ตามที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมเวชศาสตร์ใต้น้ำและเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศสูงของสหรัฐอเมริกา (Undersea and Hyperbaric Medicine Society, UHMS) ในปัจจุบัน ได้แก่

1. โรคคาร์บอนมอนนอคไซด์เป็นพิษ / การสำลักควันไฟ(CO Poisoning and Smoke Inhalation)

2. การติดเชื้อของเนื้อเยื่อจากแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Clostridial Gas Gangrene)

3. การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อเนื่องจากการถูกบดขยี้  (Crush Injury: Compartment Syndrome, Acute Traumatic Ischemia)

4. แผลเรื้อรังที่เกิดในผู้ป่วยเบาหวาน (diabetes ulcer) แผลเนื่องจากการกดทับ (Pressure ulcer) แผลเนื่องจากการไหลเวียนในหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดงไม่ดี (Ischemic ulcers)

5. การติดเชื้อและมีการตายของเนื้อเยื่อ (Necrotizing Soft Tissue Infection)

6. การติดเชื้อเรื้อรังของเยื่อหุ้มกระดูก (Refractory Osteomyelitis)

7. การปลูกถ่ายผิวหนังและกล้ามเนื้อ (Compromised Skin Graft or Flap)

8. การได้รับบาดเจ็บจากรังสี (Radiation Injury)

8.1 กระดูกและเนื้อเยื่อตายเนื่องจากได้รับรังสี (Osteoradionecrosis / ORN)

8.2 เนื้อเยื่อตายเนื่องจากได้รับรังสี (Soft Tissue Radionecrosis / STRN)

8.3 ฟันผุเนื่องจากได้รับรังสี (Radiation Caries)

9. แผลไหม้จากความร้อน (Thermal Burn)

10. โรคฝีในสมอง (Intracranial Abscess)

ศูนย์รักษาแผลเบาหวาน

ศูนย์รักษาแผลเบาหวาน

การรักษาด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง

ออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric oxygen therapy) รักษาแผลเบาหวานได้จริงหรือไม่??

หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่พบบ่อย คือ แผลที่เท้าเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากผลของระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้การไหลเวียนเลือดไปที่แผลน้อยลง เนื้อเยื่อรอบแผลมีระดับออกซิเจนต่ำ เซลล์ต่างๆที่มีหน้าที่ทำให้แผลหายไม่สามารถทำงานสร้างเนื้อเยื่อได้ตามปกติ ส่งผลให้แผลหายช้า และอาจก่อให้เกิดภาวะดื้อยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จนนำไปสู่การตัดขา

การบำบัดด้วยออกซิเจนความดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric oxygen therapy: HBOT) เป็นการบำบัดโดยให้ผู้ป่วยหายใจเอาออกซิเจนบริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็น ขณะอยู่ในห้องปรับบรรยากาศที่มีความดันภายในสูงกว่า 1 บรรยากาศ ที่มีลักษณะเหมือนหลอดแก้วขนาดใหญ่

ซึ่งการหายใจด้วยวิธีนี้จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในประมาณสูงมากกว่าการหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ที่บรรยากาศปกติหลายเท่า ทำให้เลือดมีออกซิเจนเพียงพอที่จะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อและหลอดเลือดฝอย รวมถึงช่วยให้เลือดไหลเวียนไปสู่อวัยวะที่ขาดเลือดได้ดีขึ้น HBOT จึงมีผลในการเสริมสร้างการหายของบาดแผล โดยเฉพาะแผลเรื้อรังที่เกิดจากเบาหวาน

ผลดีของการรักษาด้วย HBO คือ ลดความพิการและสูญเสียอวัยวะ ซึ่งบางรายแพทย์อาจต้องทำผ่าตัดเอาอวัยวะส่วนนั้นทิ้ง เช่นตัดนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ช่วยให้แผลเรื้อรังต่างๆที่เกิดจากการขาดออกซิเจนหายเร็วขึ้น จึงช่วยลดระยะเวลาของการรักษาลง สามารถทำกิจวัตรประจำวันตามปกติได้เร็วขึ้น และลดค่าใช้จ่าย

นอกเหนือจากการรักษาแผลเรื้อรังจากเบาหวาน HBOT ยังมีข้อบ่งชี้ตามที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมเวชศาสตร์ใต้น้ำและเวชศาสตร์ความกดบรรยากาศสูงของสหรัฐอเมริกา (Undersea and Hyperbaric Medicine Society, UHMS) ในปัจจุบัน ได้แก่

1. โรคคาร์บอนมอนนอคไซด์เป็นพิษ / การสำลักควันไฟ(CO Poisoning and Smoke Inhalation)

2. การติดเชื้อของเนื้อเยื่อจากแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Clostridial Gas Gangrene)

3. การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อเนื่องจากการถูกบดขยี้  (Crush Injury: Compartment Syndrome, Acute Traumatic Ischemia)

4. แผลเรื้อรังที่เกิดในผู้ป่วยเบาหวาน (diabetes ulcer) แผลเนื่องจากการกดทับ (Pressure ulcer) แผลเนื่องจากการไหลเวียนในหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดงไม่ดี (Ischemic ulcers)

5. การติดเชื้อและมีการตายของเนื้อเยื่อ (Necrotizing Soft Tissue Infection)

6. การติดเชื้อเรื้อรังของเยื่อหุ้มกระดูก (Refractory Osteomyelitis)

7. การปลูกถ่ายผิวหนังและกล้ามเนื้อ (Compromised Skin Graft or Flap)

8. การได้รับบาดเจ็บจากรังสี (Radiation Injury)

8.1 กระดูกและเนื้อเยื่อตายเนื่องจากได้รับรังสี (Osteoradionecrosis / ORN)

8.2 เนื้อเยื่อตายเนื่องจากได้รับรังสี (Soft Tissue Radionecrosis / STRN)

8.3 ฟันผุเนื่องจากได้รับรังสี (Radiation Caries)

9. แผลไหม้จากความร้อน (Thermal Burn)

10. โรคฝีในสมอง (Intracranial Abscess)

Emergency
+66 2220 3899

Make an appointment, call an ambulance. Available for service 24 hours a day.

Call Us
+66 2220 7999

Available for service 24 hours a day.

Hospital map
How to get there