การรักษา วัยหมดประจำเดือน

การรักษา วัยหมดประจำเดือน

วัยหมดประจำเดือนอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ หากทำการรักษาจะเป็นการช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ป้องกันหรือจัดการภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยการรักษาแบ่งออกเป็นสองแบบคือการรักษาด้วยฮอร์โมนและการรักษาที่มิใช่ฮอร์โมนซึ่งจะใช้ตามความจำเป็นของผู้ป่วยแต่ละราย 

การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy) – มีสองประเภทขึ้นอยู่กับว่ายังมีมดลูกอยู๋หรือได้ทำการตัดมดลูกไปแล้วหรือไม่ (hysterectomy) 

  • Estrogen therapy – การใช้เอสโตรเจนโดสต่ำในรูปแบบต่างๆขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละราย โดยมุ่งเน้นเพื่อบรรเทาอาการจากวัยหมดประจำเดือนและป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดมดลูกออก (hysterectomy)

  • Estrogen Progesterone/Progestin Hormone Therapy (EPT) หรือ combination therapy เหมาะกับผู้ป่วยที่ยังมีมดลูกอยู่โดยโปรเจนเตอโรนจะลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกจากการใช้ hormonal therapy เนื่องจากการใช้เอสโตรเจนเดี่ยวในผู้ป่วยที่ยังมีมดลูกอยู่อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

  • เอสโตรเจนในรูปแบบครีม เม็ดหรือวงแหวนใช้สำหรับช่องคลอดโดยตรง เพื่อลดอาการช่องคลอดแห้ง

การรักษาที่มิใช่ฮอร์โมน (Non-Hormonal Therapy) – ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาฮอร์โมนได้และช่วยในการลดอาการต่างๆได้ 

  • ยาต้านซึมเศร้าขนาดต่ำเพื่อลดอาการร้อนวูบวาบและความผิดปกติทางอารมณ์ 

  • Gabapentin – ช่วยลดอาการร้อนวูบสาบและมักจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่นอนหลับยาก 

  • Clonidine – ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ 

  • ป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน (โปรดดูบทความโรคกระดูกพรุน)

 

คลินิกสูติ-นรีเวช

คลินิกสูติ-นรีเวช

การรักษา วัยหมดประจำเดือน

การรักษา วัยหมดประจำเดือน

วัยหมดประจำเดือนอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ หากทำการรักษาจะเป็นการช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ป้องกันหรือจัดการภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยการรักษาแบ่งออกเป็นสองแบบคือการรักษาด้วยฮอร์โมนและการรักษาที่มิใช่ฮอร์โมนซึ่งจะใช้ตามความจำเป็นของผู้ป่วยแต่ละราย 

การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy) – มีสองประเภทขึ้นอยู่กับว่ายังมีมดลูกอยู๋หรือได้ทำการตัดมดลูกไปแล้วหรือไม่ (hysterectomy) 

  • Estrogen therapy – การใช้เอสโตรเจนโดสต่ำในรูปแบบต่างๆขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละราย โดยมุ่งเน้นเพื่อบรรเทาอาการจากวัยหมดประจำเดือนและป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดมดลูกออก (hysterectomy)

  • Estrogen Progesterone/Progestin Hormone Therapy (EPT) หรือ combination therapy เหมาะกับผู้ป่วยที่ยังมีมดลูกอยู่โดยโปรเจนเตอโรนจะลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกจากการใช้ hormonal therapy เนื่องจากการใช้เอสโตรเจนเดี่ยวในผู้ป่วยที่ยังมีมดลูกอยู่อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

  • เอสโตรเจนในรูปแบบครีม เม็ดหรือวงแหวนใช้สำหรับช่องคลอดโดยตรง เพื่อลดอาการช่องคลอดแห้ง

การรักษาที่มิใช่ฮอร์โมน (Non-Hormonal Therapy) – ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาฮอร์โมนได้และช่วยในการลดอาการต่างๆได้ 

  • ยาต้านซึมเศร้าขนาดต่ำเพื่อลดอาการร้อนวูบวาบและความผิดปกติทางอารมณ์ 

  • Gabapentin – ช่วยลดอาการร้อนวูบสาบและมักจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่นอนหลับยาก 

  • Clonidine – ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ 

  • ป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน (โปรดดูบทความโรคกระดูกพรุน)

 

Emergency
+66 2220 3899

Make an appointment, call an ambulance. Available for service 24 hours a day.

Call Us
+66 2220 7999

Available for service 24 hours a day.

Hospital map
How to get there