การรักษา โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ Age-related Macular Degeneration (AMD)

การรักษา โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ Age-related Macular Degeneration (AMD)

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งให้หายขาด ทำได้เพียงชะลอการเกิดโรคเท่านั้น

คือ การตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์เป็นประจำ รวมถึงควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเสื่อมของจุดศูนย์กลางการรับ

ภาพของจอประสาทตา ส่วนการรักษาโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม ชนิดเปียก ทำได้โดย

1. การฉายแสงเลเซอร์ที่ทำให้เกิดความร้อนลงบนจอประสาทตา (Laser Photocoagulation)

    เพื่อยับยั้งหรือชะลอเส้นเลือดผิดปกติที่ทำให้เกิดเลือดออกใต้จอประสาทตาได้ ส่วนของจอประสาทตาที่โดนแสง

    เลเซอร์ชนิดนี้จะถูกความร้อนทำลายไปด้วย ทำให้เกิดจุดมืดดำอย่างถาวร การมองเห็นจะลดลงทันทีหลังการรักษา 

    ซึ่งการรักษาวิธีนี้ ใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโรคอยู่ห่างจากศูนย์กลางจอประสาทตาพอสมควร

2. การฉายแสดงเลเซอร์ที่ไม่ทำให้เกิดความร้อนภายหลัง ร่วมกับการให้ยาเข้าทางเส้นเลือด (Photodynamic Therapy : PDT) โดยจะให้ยาเข้าทางเส้นเลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิต และจับกับเซลล์ที่มีการแบ่งตัวที่ผนังหลอดเลือดที่ผิดปกติใต้จอประสาทตา จากนั้นจึงฉายแสงไปช่วยกระตุ้นให้ยาทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติ โดยไม่มีผลกระทบกับจอประสาทตาบริเวณนั้น ซึ่งผู้ป่วยยังคงสามารถมองเห็นได้เหมือนก่อนการฉายแสงเลเซอร์ ในบางรายที่อาการของโรคยังไม่รุนแรงการมองเห็นที่ลดลงก่อนการรักษาอาจกลับคืนมาใกล้เคียงกับปกติได้

3. การฉีดยากลุ่ม (Anti-Vascular Endothelial Growth Factor : Anti-VEGF)

    เข้าไปในน้ำวุ้นตาเพื่อทำให้เส้นเลือดที่งอกผิดปกติฝ่อไป ต้องฉีดอย่างน้อย 3 ครั้ง ทุก 1 เดือน และอาจต้องฉีดทุก 2 - 3 เดือนในระยะต่อมา

4. การผ่าตัด ทำในกรณีที่มีเลือดออกใต้ศูนย์กลางรับภาพ โดยการฉีดยาเข้าไปเพื่อทำให้เลือดที่แข็งตัวละลาย และฉีดแก๊สเข้าไปรีดเลือดให้ขยับออกจากศูนย์กลางจอรับภาพ

ศูนย์จักษุ

ศูนย์จักษุ

การรักษา โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ Age-related Macular Degeneration (AMD)

การรักษา โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ Age-related Macular Degeneration (AMD)

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งให้หายขาด ทำได้เพียงชะลอการเกิดโรคเท่านั้น

คือ การตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์เป็นประจำ รวมถึงควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเสื่อมของจุดศูนย์กลางการรับ

ภาพของจอประสาทตา ส่วนการรักษาโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม ชนิดเปียก ทำได้โดย

1. การฉายแสงเลเซอร์ที่ทำให้เกิดความร้อนลงบนจอประสาทตา (Laser Photocoagulation)

    เพื่อยับยั้งหรือชะลอเส้นเลือดผิดปกติที่ทำให้เกิดเลือดออกใต้จอประสาทตาได้ ส่วนของจอประสาทตาที่โดนแสง

    เลเซอร์ชนิดนี้จะถูกความร้อนทำลายไปด้วย ทำให้เกิดจุดมืดดำอย่างถาวร การมองเห็นจะลดลงทันทีหลังการรักษา 

    ซึ่งการรักษาวิธีนี้ ใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโรคอยู่ห่างจากศูนย์กลางจอประสาทตาพอสมควร

2. การฉายแสดงเลเซอร์ที่ไม่ทำให้เกิดความร้อนภายหลัง ร่วมกับการให้ยาเข้าทางเส้นเลือด (Photodynamic Therapy : PDT) โดยจะให้ยาเข้าทางเส้นเลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิต และจับกับเซลล์ที่มีการแบ่งตัวที่ผนังหลอดเลือดที่ผิดปกติใต้จอประสาทตา จากนั้นจึงฉายแสงไปช่วยกระตุ้นให้ยาทำลายหลอดเลือดที่ผิดปกติ โดยไม่มีผลกระทบกับจอประสาทตาบริเวณนั้น ซึ่งผู้ป่วยยังคงสามารถมองเห็นได้เหมือนก่อนการฉายแสงเลเซอร์ ในบางรายที่อาการของโรคยังไม่รุนแรงการมองเห็นที่ลดลงก่อนการรักษาอาจกลับคืนมาใกล้เคียงกับปกติได้

3. การฉีดยากลุ่ม (Anti-Vascular Endothelial Growth Factor : Anti-VEGF)

    เข้าไปในน้ำวุ้นตาเพื่อทำให้เส้นเลือดที่งอกผิดปกติฝ่อไป ต้องฉีดอย่างน้อย 3 ครั้ง ทุก 1 เดือน และอาจต้องฉีดทุก 2 - 3 เดือนในระยะต่อมา

4. การผ่าตัด ทำในกรณีที่มีเลือดออกใต้ศูนย์กลางรับภาพ โดยการฉีดยาเข้าไปเพื่อทำให้เลือดที่แข็งตัวละลาย และฉีดแก๊สเข้าไปรีดเลือดให้ขยับออกจากศูนย์กลางจอรับภาพ

Emergency
+66 2220 3899

Make an appointment, call an ambulance. Available for service 24 hours a day.

Call Us
+66 2220 7999

Available for service 24 hours a day.

Hospital map
How to get there